กิจกรรม

สานเสวนา     “ รัฐ กับ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ”

 

เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและ ๑๒ องค์กรภาคีร่วมจัด ประกอบด้วย คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ( กป . อพช .) สถาบันพระปกเกล้า มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันกฎหมายอาญา มูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง และเครือข่ายผู้หญิงพิทักษ์สิทธิ์ ภายใต้การสนับสนุนจาก มูลนิธิฟอร์ด และกรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ได้จัดเวทีสานเสวนา เรื่อง “ รัฐ กับ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ” ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสานเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคประชาสังคมและภาครัฐในประเด็น ธรรมาภิบาล และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อมอย่างยั่งยืน ตลอดจนแสวงหาฉันทามติในการจัดทำข้อเสนอในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมต่อรัฐบาลและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในช่วงเช้าได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นผู้กล่าวเปิดเวทีสานเสวนาและกล่าวปาฐกถาพิเศษแนวนโยบายแห่งรัฐเรื่อง “ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ” และ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คุณธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ มาร่วมงานด้วย โดยมีผู้เข้าร่วมสานเสวนาทั้งสิ้นจำนวน ๔๒๘ คน จากทุกภาคส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจเอกชน องค์พัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายองค์กร นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

ผลสรุปที่จากสานเสวนาระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อยได้มอบ ต่อ คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ในช่วงเย็นของวันดังกล่าว

นอกจากนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและ ๑๒ องค์กรภาคีร่วมจัด ได้จัดทำเอกสารข้อเสนอต่อการปรับมาตราในร่างรัฐรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช … ฉบับรับฟังความคิดเห็นในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้จากสานเสวนาระดมความคิดเห็นของผู้เข้า ร่วม โดยเฉพาะ ในมาตรา ๕๖ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๘๔ (และข้อเสนอมาตราอื่นๆ) นำส่งต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เช่นกัน

(สามารถ Download ได้จากด้านล่างนี้)