
หน้าหลัก | เกี่ยวกับกลุ่มงาน

สถาบันมุ่งส่งเสริมให้การพัฒนาในระดับประเทศและการประกอบการในระดับองค์กรได้รับการขับเคลื่อน บนพื้นฐานของการประหยัดทรัพยากรและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษและของเสียหรือมีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีในการดำเนินงาน ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สถาบันจึงได้มีส่วนร่วมวิจัยและปฏิบัติงานด้านการพัฒนาขีดความสามารถให้องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายพัฒนาในระดับมหภาคและการประกอบการในระดับจุลภาคมีแนวทาง ระบบ กระบวนการ เครื่องมือและฐานข้อมูลในการประเมินและพัฒนาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในกรอบการพัฒนาประเทศและการประกอบการ
ผลงานสำคัญๆ ในรอบ 18 ปี ของสถาบันเพื่อตอบสนองต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม ได้แก่
แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย
สถาบันมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20 ปี (2540-2559) การจัดทำแผนแม่บทการจัดการลุ่มน้ำภาคกลาง แนวทางการบริหารจัดการของเสียของประเทศไทย การจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการมลพิษทางน้ำ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อใช้ประเมินสถานภาพสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบกับผลการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจและสังคม<
มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการมลพิษ
สถาบันเป็นหน่วยงานแรกที่ทำการศึกษาวิจัยเพื่อนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมมาใช้ในการจัดการมลพิษภายใต้หลักการ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 จนเป็นที่มาของคำว่า pollution charge และ pollution management fee (PMF) สำหรับมลพิษที่มาจากภาคอุตสาหกรรม
เมื่อการศึกษานี้ได้รับการยอมรับและกำลังผลักดันในทางกฎหมาย สถาบันได้ขยายผลการศึกษาไปถึงการใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์กับการจัดการมลพิษทางอากาศ การจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรและการเกษตร การฟื้นฟูและประเมินความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ลักลอบระบายของเสีย (มลพิษทางดินและน้ำใต้ดิน) และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ใบอนุญาตการระบายมลพิษ
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม
การจัดทำฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory) ของผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ทรัพยากรน้ำ ไฟฟ้า และวัสดุพื้นฐานต่างๆ และการศึกษาผลกระทบของมาตรการสิ่งแวดล้อมในระบบการค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาตัวชี้วัดผลประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบันสถาบันได้มุ่งพัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลายมากขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาแนวทางและวิธีการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมมาตรการ Greening supply chain
ได้มีการส่งเสริมผ่านการสัมมนาและฝึกอบรมให้แก่ภาคธุรกิจไทยให้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้คู่ค้าใส่ใจในการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษจากการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาและวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เพื่อทราบสถานการณ์การดำเนินงานในด้านนี้ และร่วมกันนำเสนอนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมให้แก่หน่วยงานรัฐ
จัดทำแผนแม่บทการช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น
สถาบันได้จัดทำ Master Plan of the Green Partnership Plan ใน 2 แผน คือระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 (ค.ศ. 2001-2005) และปี พ.ศ. 2549-2553 (ค.ศ. 2006-2010) เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม
การจัดการสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค
การดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ สถาบันได้ร่วมกับองค์กรวิจัยของประเทศต่างๆ หลายโครงการและได้ร่วมทีมประเมินงานวิจัยและภาคสนามในหลายประเทศ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงาน การประสานงาน และการควบคุมการทำงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยตัวอย่างงานวิจัยระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น
ในปี พ.ศ. 2547-2552 ได้ทำงานร่วมกับองค์กรวิจัยของประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน บังคลาเทศ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของ Institute for Global Environmental Strategies (IGES) ในการทำงานวิจัยประเด็นการค้าและสิ่งแวดล้อมระดับเอเชีย-
แปซิฟิค (ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก) โดยศึกษาถึงการรีไซเคิล SME ระบบข้อมูล พลังงาน การเปิดการค้าเสรี เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2551 ทำงานร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) และ The Energy and Resources Institute (TERI) ในเรื่อง Energy and climate change โดยร่วมกับองค์กรวิจัยในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และญี่ปุ่น โดยสถาบันรับผิดชอบงานวิจัยใน 5 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และไทย
ในปี พ.ศ. 2552 ทำงานร่วมกับ ADB และ TERI ในเรื่อง Technology Transfer เพื่อเตรียมการเจรจาในการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC: COP 15 Negotiation) ณ กรุงโคเปนเฮเก็น ประเทศเดนมาร์ก ร่วมกับองค์กรวิจัยในประเทศอินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และ ญี่ปุ่น
ผลงานสำคัญๆ ในรอบ 18 ปี ของสถาบันเพื่อตอบสนองต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม ได้แก่
แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย
สถาบันมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20 ปี (2540-2559) การจัดทำแผนแม่บทการจัดการลุ่มน้ำภาคกลาง แนวทางการบริหารจัดการของเสียของประเทศไทย การจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการมลพิษทางน้ำ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อใช้ประเมินสถานภาพสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบกับผลการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจและสังคม<
มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการมลพิษ
สถาบันเป็นหน่วยงานแรกที่ทำการศึกษาวิจัยเพื่อนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมมาใช้ในการจัดการมลพิษภายใต้หลักการ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 จนเป็นที่มาของคำว่า pollution charge และ pollution management fee (PMF) สำหรับมลพิษที่มาจากภาคอุตสาหกรรม
เมื่อการศึกษานี้ได้รับการยอมรับและกำลังผลักดันในทางกฎหมาย สถาบันได้ขยายผลการศึกษาไปถึงการใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์กับการจัดการมลพิษทางอากาศ การจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรและการเกษตร การฟื้นฟูและประเมินความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ลักลอบระบายของเสีย (มลพิษทางดินและน้ำใต้ดิน) และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ใบอนุญาตการระบายมลพิษ
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม
การจัดทำฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory) ของผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ทรัพยากรน้ำ ไฟฟ้า และวัสดุพื้นฐานต่างๆ และการศึกษาผลกระทบของมาตรการสิ่งแวดล้อมในระบบการค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาตัวชี้วัดผลประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบันสถาบันได้มุ่งพัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลายมากขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาแนวทางและวิธีการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมมาตรการ Greening supply chain
ได้มีการส่งเสริมผ่านการสัมมนาและฝึกอบรมให้แก่ภาคธุรกิจไทยให้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้คู่ค้าใส่ใจในการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษจากการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาและวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เพื่อทราบสถานการณ์การดำเนินงานในด้านนี้ และร่วมกันนำเสนอนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมให้แก่หน่วยงานรัฐ
จัดทำแผนแม่บทการช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น
สถาบันได้จัดทำ Master Plan of the Green Partnership Plan ใน 2 แผน คือระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 (ค.ศ. 2001-2005) และปี พ.ศ. 2549-2553 (ค.ศ. 2006-2010) เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม
การจัดการสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค
การดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ สถาบันได้ร่วมกับองค์กรวิจัยของประเทศต่างๆ หลายโครงการและได้ร่วมทีมประเมินงานวิจัยและภาคสนามในหลายประเทศ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงาน การประสานงาน และการควบคุมการทำงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยตัวอย่างงานวิจัยระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น
ในปี พ.ศ. 2547-2552 ได้ทำงานร่วมกับองค์กรวิจัยของประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน บังคลาเทศ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของ Institute for Global Environmental Strategies (IGES) ในการทำงานวิจัยประเด็นการค้าและสิ่งแวดล้อมระดับเอเชีย-
แปซิฟิค (ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก) โดยศึกษาถึงการรีไซเคิล SME ระบบข้อมูล พลังงาน การเปิดการค้าเสรี เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2551 ทำงานร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) และ The Energy and Resources Institute (TERI) ในเรื่อง Energy and climate change โดยร่วมกับองค์กรวิจัยในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และญี่ปุ่น โดยสถาบันรับผิดชอบงานวิจัยใน 5 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และไทย
ในปี พ.ศ. 2552 ทำงานร่วมกับ ADB และ TERI ในเรื่อง Technology Transfer เพื่อเตรียมการเจรจาในการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC: COP 15 Negotiation) ณ กรุงโคเปนเฮเก็น ประเทศเดนมาร์ก ร่วมกับองค์กรวิจัยในประเทศอินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และ ญี่ปุ่น