หน้าหลัก | โครงการของ NR | การจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติ

การจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติ
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ เห็นชอบให้กรมป่าไม้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกขององค์กรความร่วมมือด้านไผ่และหวายระหว่างประเทศ (International Network for Bamboo and Rattan - INBAR) โดยกรมป่าไม้ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลาง รวมทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) มีข้อสั่งการให้กรมป่าไม้จัดทำแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนหลังจากเข้าเป็นสมาชิก
โดยประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากทรัพยากรไผ่และหวายหากมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายให้มีความยั่งยืน และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมไผ่และหวายทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลต่อการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรไผ่และหวายขึ้นอยู่ทั่วทุกภาคเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งการอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะการนำมาประกอบอาหารและแปรรูปเป็นที่อยู่อาศัย เครื่องเรือน เครื่องประดับตกแต่ง เครื่องใช้ และเครื่องมือในการก่อสร้าง เป็นต้น การปลูกไผ่ยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างดี เพราะไผ่เป็นพืชโตเร็วสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ และยังมีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก INBAR ยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นสมาชิก INBAR ก่อนหน้านี้แล้ว คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ และเวียดนาม ซึ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลของไผ่และหวายในด้านต่างๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ในการนี้กรมป่าไม้จึงเห็นควรให้มีการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางในการดำเนินงานและบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายของประเทศไทยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และยั่งยืนในระยะยาว ตลอดจนส่งเสริมและสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรไผ่และหวายของประเทศไทย
วัตถุประสงค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติ ประกอบด้วย
โดยประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากทรัพยากรไผ่และหวายหากมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายให้มีความยั่งยืน และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมไผ่และหวายทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลต่อการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรไผ่และหวายขึ้นอยู่ทั่วทุกภาคเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งการอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะการนำมาประกอบอาหารและแปรรูปเป็นที่อยู่อาศัย เครื่องเรือน เครื่องประดับตกแต่ง เครื่องใช้ และเครื่องมือในการก่อสร้าง เป็นต้น การปลูกไผ่ยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างดี เพราะไผ่เป็นพืชโตเร็วสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ และยังมีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก INBAR ยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นสมาชิก INBAR ก่อนหน้านี้แล้ว คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ และเวียดนาม ซึ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลของไผ่และหวายในด้านต่างๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ในการนี้กรมป่าไม้จึงเห็นควรให้มีการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางในการดำเนินงานและบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายของประเทศไทยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และยั่งยืนในระยะยาว ตลอดจนส่งเสริมและสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรไผ่และหวายของประเทศไทย
วัตถุประสงค์
- เพื่อจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติ
- เพื่อให้ประเทศไทยมีแนวทางปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
- พื้นที่ดำเนินการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
- กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประโยชน์จากแผนแม่บท ประกอบด้วย กรมป่าไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกพื้นที่ที่มีทรัพยากรไผ่และหวายในประเทศไทย
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติ ประกอบด้วย
- ประเทศไทยมีแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติ ซึ่งใช้เป็นแนวทางการดำเนินการในภาพรวมของประเทศทั้งในเชิงการใช้ประโยชน์ เศรษฐกิจ สังคม ความเป็นอยู่และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
- กรมป่าไม้และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในทุกพื้นที่ที่มีทรัพยากรไผ่และหวายในประเทศไทยได้รับการบริหารจัดการที่เหมาะสมและยั่งยืน
ระยะเวลาดำเนินงาน: | 27/06/2560 - 22/04/2561 |
ผู้สนับสนุนโครงการ: | กรมป่าไม้ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ: | ธนิรัตน์ ธนวัฒน์ |
ติดต่อสอบถาม: | 02 503 3333 ต่อ 213 | tanirat@tei.or.th |
กิจกรรมของโครงการ
-
25 ธันวาคม 2563 | 16:38 น.
ประชุมวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าของไผ่ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษา
25 ธันวาคม 2563 คุณเบญจมาส โชติทอง และทีมนักวิจัยโครงการ BCAT จัดประชุมวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าของไผ่ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษา ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ผ.อ. สภลท์ บุญ... -
14 ธันวาคม 2563 | 20:09 น.
สัมภาษณ์และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าของไผ่
10 ธันวาคม 2563 นักวิจัยโครงการ BCAT ได้ลงพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อสัมภาษณ์และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าของไผ่ได้อย่างครอบคลุมต่อไป จุดที่ 1 พ... -
29 มกราคม 2561 | 10:43 น.
ขอเชิญร่วมให้ข้อคิดเห็น (ร่าง) แผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติ
หรือ แสดงความคิดเห็นผ่าน Google Forms