เล่าเรื่องรายงานความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งสะท้อนความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศ

ธนิรัตน์ ธนวัฒน์
ผู้จัดการโครงการ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
3 ธันวาคม 2562 | 09:38 น.
แม้ทุกวันนี้ สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนสัมผัสได้ โดยไม่ต้อใช้เครื่องมือตรวจวัดใดๆ แต่นับเป็นความโชคดีของประเทศที่ยังคงมีความหลากหลายทางชีวภาพจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก มีระบบนิเวศครบทุกประเภท ไม่ว่าภูเขา พื้นที่แห้งแล้งกึ่งชื้น แหล่งน้ำ พื้นที่เกษตร ป่าไม้ ชายฝั่งและทะเล และเกาะ ด้วยมีที่ตั้งอยู่ในโซนสภาพอากาศที่เอื้อให้มีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย และมีความพยายามของหลายฝ่ายในการหยุดยั้งภัยคุกคามต่าง ๆ

จากรายงานแห่งชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ฉบับที่ 6 ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อต้นปี 2562 โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) ได้สะท้อนให้เห็นประเด็นสำคัญว่าประเทศไทยได้ริเริ่มกฎหมายใหม่ ๆ เกี่ยวกับการจัดการป่าไม้ การคุ้มครองสัตว์ป่า การบริหารทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การจัดทำแผนแม่บทด้านสมุนไพร การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วม รวมถึงมีความพยายามในการจัดทำทะเบียนข้อมูลชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในระบบนิเวศและเส้นทางการแพร่ระบาด ซึ่งหวังว่ามาตรการเหล่านี้จะได้รับความร่วมมือและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ
อีกทั้งการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้และคุณภาพแหล่งน้ำต่าง ๆ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ประชากรสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประชากรกระทิงดีขึ้นว่าในอดีต มีการเพาะพันธุ์และปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ มีแผนคุ้มครองสัตว์สงวนและชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นบางชนิด อย่างไรก็ดี การล่าสัตว์ การค้าสัตว์และพืชป่าระหว่างประเทศ ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของชนิดพันธุ์ในธรรมชาติ ทำให้จำนวนเสือโคร่งลดลงอย่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากถูกล่าและมีสัตวที่เป็นเยื่อของเสือโคร่งลดลง
เรื่องราวของประเทศไทยซึ่งเป็นจุดเด่น ก็คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีประจายในภูมินิเวศต่างๆ ยังคงสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและผสานองค์ความรู้ใหม่ ในการจัดการพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ จัดการน้ำ จัดการแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างยั่งยืน สวนทางกับกระแสการบริโภคและการพึ่งพิงเกษตรพานิชย์ของสังคมภายนอก
ส่วนประเด็นบทบาทของผู้หญิง ซึ่งมักมีข้อกังขาว่าถูกลดทอนสิทธิหรือมีบทบาทมากพอหรือไม่นั้น พบว่า ผู้หญิงไทยมักอยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่างๆ มีส่วนในการตัดสินใจของผู้ชายซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว มีทักษะในการประสานงานและสื่อสารให้เกิดความร่วมมือ ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลบุตรหลาน จึงมีความใกล้ชิดและมีโอกาสถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาแก่คนรุ่นใหม่

รายงานยังนำเสนอให้ทั่วโลกได้เห็นว่าประเทศไทยมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ที่เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดังพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” มีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ความสนพระทัยในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มาเกือบ 20 ปี.jpg)
ความท้าทายในการรักษาความมั่นคงทางธรรมชาติเหล่านี้ คือ การปกป้องพื้นที่และชนิดพันธุ์ที่อ่อนไหวซึ่งกำลังถูกคุกคาม โดยเฉพาะการคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดเล็กและสัตว์ทะเลหายาก รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพนอกพื้นที่อนุรักษ์ ทั้งระบบนิเวศในเมืองและระบบนิเวศทางการเกษตร จึงต้องหาแนวทางการจัดการอย่างเชื่อมโยง เพิ่มการบูรณาการประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพกับห่วงโซ่อุปทานการผลิตของภาคธุรกิจ ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ และสนับสนุนให้มีการนำกฎระเบียบใหม่ๆ ไปสู่การปฏบัติ ให้มีข้อบัญญัติท้องถิ่นในการปกป้องและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปประเทศสู่ความมั่นคั่งอย่างยั่งยืน

ที่มาภาพ: องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
แนวโน้มที่ดีขึ้น

จากรายงานแห่งชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ฉบับที่ 6 ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อต้นปี 2562 โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) ได้สะท้อนให้เห็นประเด็นสำคัญว่าประเทศไทยได้ริเริ่มกฎหมายใหม่ ๆ เกี่ยวกับการจัดการป่าไม้ การคุ้มครองสัตว์ป่า การบริหารทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การจัดทำแผนแม่บทด้านสมุนไพร การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วม รวมถึงมีความพยายามในการจัดทำทะเบียนข้อมูลชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในระบบนิเวศและเส้นทางการแพร่ระบาด ซึ่งหวังว่ามาตรการเหล่านี้จะได้รับความร่วมมือและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ
อีกทั้งการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้และคุณภาพแหล่งน้ำต่าง ๆ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ประชากรสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประชากรกระทิงดีขึ้นว่าในอดีต มีการเพาะพันธุ์และปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ มีแผนคุ้มครองสัตว์สงวนและชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นบางชนิด อย่างไรก็ดี การล่าสัตว์ การค้าสัตว์และพืชป่าระหว่างประเทศ ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของชนิดพันธุ์ในธรรมชาติ ทำให้จำนวนเสือโคร่งลดลงอย่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากถูกล่าและมีสัตวที่เป็นเยื่อของเสือโคร่งลดลง
จุดเด่น
ส่วนประเด็นบทบาทของผู้หญิง ซึ่งมักมีข้อกังขาว่าถูกลดทอนสิทธิหรือมีบทบาทมากพอหรือไม่นั้น พบว่า ผู้หญิงไทยมักอยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่างๆ มีส่วนในการตัดสินใจของผู้ชายซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว มีทักษะในการประสานงานและสื่อสารให้เกิดความร่วมมือ ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลบุตรหลาน จึงมีความใกล้ชิดและมีโอกาสถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาแก่คนรุ่นใหม่

รายงานยังนำเสนอให้ทั่วโลกได้เห็นว่าประเทศไทยมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ที่เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดังพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” มีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ความสนพระทัยในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มาเกือบ 20 ปี
ความท้าทาย
.jpg)
ความท้าทายในการรักษาความมั่นคงทางธรรมชาติเหล่านี้ คือ การปกป้องพื้นที่และชนิดพันธุ์ที่อ่อนไหวซึ่งกำลังถูกคุกคาม โดยเฉพาะการคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดเล็กและสัตว์ทะเลหายาก รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพนอกพื้นที่อนุรักษ์ ทั้งระบบนิเวศในเมืองและระบบนิเวศทางการเกษตร จึงต้องหาแนวทางการจัดการอย่างเชื่อมโยง เพิ่มการบูรณาการประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพกับห่วงโซ่อุปทานการผลิตของภาคธุรกิจ ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ และสนับสนุนให้มีการนำกฎระเบียบใหม่ๆ ไปสู่การปฏบัติ ให้มีข้อบัญญัติท้องถิ่นในการปกป้องและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปประเทศสู่ความมั่นคั่งอย่างยั่งยืน

ที่มาภาพ: องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
![]() |
โดย ธนิรัตน์ ธนวัฒน์ ผู้จัดการโครงการ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย |