ACCCRN

เครือข่ายเมืองในเอเชีย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Asian Cities Climate Change Resilience Networks

โครงการ ACCCRN ประเทศไทย ระยะที่ 2

กิจกรรมโครงการ ระยะที่ 2


กิจกรรม

รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ระยะเวลา

1. การจัดตั้งคณะทำงาน ระดับเมือง(City coreworking groups)
  • คณะทำงาน จากหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 – 15 คน
  • คณะทำงานดังกล่าว ควรเข้าร่วมกิกรรม และ/หรือ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (SLD) ที่จะจัดขึ้นตลอดระยะเวลาโครงการ
  • คณะทำงานมีความรู้และเข้าใจ เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และความคิดเห็นต่อประเด็นผลกระทบ และความเสี่ยงที่เมืองจะได้รับ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ ในการรับมือต่อประเด็นดังกล่าวต่อไป
  • ธันวาคม 2552
2. กิจกรรมเปิดตัวโครงการ
  • เทศบาลและคณะทำงานร่วมกันเชิญ และจัดงานเปิดตัวโครงการฯ ในพื้นที่ (จำนวนไม่เกิน 80 คน)
  • การชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานและภาคีต่างๆ
  • คณะทำงานและหน่วยงานภาคีมีความเข้าใจโครงการ วัตถุประสงค์ และการทำกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ เช่น SLD รวมทั้งบทบาทและหน้าที่ของตนเองต่อการดำเนินโครงการ
  • 1 วัน ช่วงเดือนมกราคม
3. สัมมนาเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เทศบาลและคณะทำงานร่วมกันเชิญและจัดงานสัมมนาในพื้นที่ (จำนวนไม่เกิน 50 คน) โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจะช่วยในด้านวิชาการ และการเชิญวิทยากร
  • เทศบาลและคณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น และสามารถเชื่อมโยงสู่ระดับท้องถิ่น/เมืองของตนเองได้
  • 1 วัน ช่วงเดือนมกราคม
4. SLD 1
  • คณะทำงานจะต้องเข้าร่วม SLD เพื่อนำเสนอ แลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็น ต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบ และความเสี่ยงที่เมืองจะได้รับต่อประเด็นดังกล่าว
  • คณะทำงานร่วมกันกำหนด และจัดลำดับความต้องการ ที่เกี่ยวข้อง ต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ประเด็นผลกระทบหรือความเสี่ยง ที่เมืองได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • กลุ่ม และพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อนำไปสู่การกำหนดพื้นที่ในการศึกษา และประเมินผลกระทบต่อไป
  • สถาบันวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาศึกษา และประเมินผลกระทบของเมือง
  • 1 วัน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์
5. การประเมินผลกระทบและความเสี่ยง
(Climate Vulnerability Assessments)
  • สถาบันวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ ทำการศึกษาและประเมินผลกระทบ ตามประเด็นที่กำหนดขึ้นจากการทำ SLD 1
  • กลุ่มและพื้นที่เสี่ยงภัยจากผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ขอบเขต สถานการณ์ และแนวโน้มของผลกระทบ
  •  4-6 สัปดาห์ ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม
6. การประชุมเชิงปฏิบัติการ
10 เมืองเครือข่าย
ACCCRN เรื่อง “เทคนิคการวางแผน การรับมือกับผลกระทบ
จากการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ”
(ACCCRN city-partner resilience planning methods workshop)
  • จัดโดย ISET โดยเมืองจะต้องเตรียมข้อมูลพื้นฐาน (จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง) ที่จะนำไปใช้กับเทคนิค และเครื่องมือที่เตรียมโดย ISET  เพื่อจัดทำร่างแผนการรับมือกับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เมืองส่งตัวแทนคณะทำงาน เมืองละ 2 คนเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว
    (ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินการประชุม)
  • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจ การจัดทำแผนการรับมือ กับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถนำไปปรับใช้กับการวางแผนฯ ที่เหมาะสมกับเมืองของตนเอง
  • 9-12 มีนาคม 2553 กรุงเทพฯ
7. SLD 2
  • คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม SLD 2 เพื่อรับฟังผลการศึกษาและประเมินผลกระทบ ที่สถาบันวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญทำการศึกษา
  • กำหนดและศึกษาผลกระทบซึ่งเป็นประเด็น
    ยุทธศาสตร์ที่คณะทำงานเห็นพ้องร่วมกัน
  • นำเสนอรูปแบบโครงการนำร่อง ตามความเหมาะสม และความต้องการของเมืองตามประเด็นยุทธศาสตร์
  • พื้นที่เสี่ยงภัยจากผลกระทบ
  • ประเด็นปัญหา/ผลกระทบที่เมืองได้รับ
  • ความต้องการ และการจัดลำดับความสำคัญ ของโครงการนำร่อง
  • 1 วัน ช่วงเดือนพฤษภาคม
8. การศึกษาประเด็น
ยุทธศาสตร์
(Sector Study)ว่าด้วยผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ
  • ผู้เชี่ยวชาญทำการศึกษา และประเมินผลกระทบฯ ที่เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ ตามที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะทำงาน
  • ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบหลัก จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เมืองสามารถเชื่อมโยงความ สัมพันธ์ระหว่างประเด็นผลกระทบต่างๆ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้
  •  6-8 สัปดาห์ ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม
9. การทำข้อเสนอโครงการ
  • คณะทำงานจัดประชุม เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาคี หรือหน่วยงานต่างๆ ร่วมส่งข้อเสนอโครงการนำร่อง ที่สามารถรับมือกับผลกระทบหรือความเสี่ยงที่ได้จากการศึกษาในเบื้องต้น (จำนวนไม่เกิน 50 คน)
  • ข้อเสนอ/ตัวอย่างโครงการนำร่อง ที่นำเสนอจากคณะทำงาน หน่วยงานภาคี หรือหน่วยงานต่างๆ
  • ½ วัน
    ช่วงเดือนพฤษภาคม
10. การคัดเลือกโครงการ
นำร่อง 
(Pilot Project Selection)
  • คณะทำงานจัดประชุมเพื่อคัดเลือกโครงการ
    นำร่องที่มีความเหมาะสม และตรงกับความต้องการของเมือง (จำนวนไม่เกิน 50 คน)
  • โครงการนำร่องที่มีความเหมาะสมจำนวนหนึ่ง เพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุน
  • โครงการนำร่อง 1-2 โครงการ โดยผ่านการคัด
    เลือกจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  • ½ วัน
    ช่วงเดือนมิถุนายน
11. การดำเนินโครงการ
นำร่อง 
(Pilot Project Implementation)
  • เมืองดำเนินโครงการนำร่อง ตามแผนที่เสนอ
  • การเก็บรวบรวมบทเรียน ประสบการณ์จากการดำเนินโครงการนำร่อง ซึ่งเป็น “ตัวอย่างที่ดี” เพื่อใช้เผยแพร่แก่เมืองอื่นๆ ต่อไป
  • กรกฎาคม
    เป็นต้นไป
12. SLD 3
  • คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม SLD 3 เพื่อรวบรวมและสรุปผลการศึกษา และประเมินความเสี่ยงที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการศึกษามา รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการนำร่อง
  • กำหนดและพัฒนากรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
    นำร่อง
  • เกณฑ์และตัวชี้วัดที่จะใช้ในการติดตามประเมิน ผลโครงการนำร่อง
  • เอกสารรวบรวมผลการศึกษา การดำเนินงาน บทเรียน และประสบการณ์จากการดำเนินงานโครงการ ที่จะเป็น “นวัตกรรม”หรือ
    “ตัวอย่างที่ดี”
  • 1 วัน
    ช่วงเดือนกรกฎาคม
13. การติดตามประเมินผลโครงการนำร่อง(Pilot project monitoring and evaluation)
  • การติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินโครงการนำร่อง โดยผู้เชี่ยวชาญ
  • ผลที่เกิดขึ้นจากการโครงการนำร่อง ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ว่าเมืองสามารถรับมือ กับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองเพื่อรับมือ กับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • สิงหาคมเป็นต้นไป
14. การสัมมนาระดับประเทศ(National Forum)
  • สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจะจัดสัมมนาระดับประเทศ ซึ่งผู้เข้าร่วมจะประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง/ หน่วยงานระดับนโยบาย เพื่อเป็นเวทีในการประสาน และนำเสนอผลการดำเนินโครงการ ได้แก่ ผลกระทบและความเสี่ยงในระดับเมือง กลุ่มและพื้นที่เสี่ยง รวมทั้งความต้องการของเมือง เพื่อผลักดันเข้าสู่ระดับนโยบาย
  • การสนับสนุนจากหน่วยงานระดับนโยบาย ต่อการดำเนินการของเมือง เพื่อรับมือกับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การวิเคราะห์ผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • 1 วัน
    ช่วงเดือนสิงหาคม
15. การพัฒนายุทธศาสตร์
การรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ
  • การจัดทำยุทธศาสตร์การรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และศักยภาพของเมือง
  • การบูรณาการแผนพัฒนาฯ และยุทธศาสตร์การรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เหมาะสม กับสถานการณ์และศักยภาพของเมือง
  • ข้อเสนอโครงการ /โครงการที่ตอบสนองต่อการรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำเสนอไปยังแหล่งทุนอื่นๆ
  • กรกฎาคม – ตุลาคม