M-BRACE

เสริมสร้างการรับมือของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Mekong-Building Climate Resilient Asian Cities

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาลนครภูเก็ต

1. ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่

12     ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศตะวันออกจดตำบลรัษฎา ติดชายทะเล
ทิศเหนือจดตำบลรัษฎา ติดกับเนินเขาสองลูก คือ เขารัง และเขาโต๊ะแซะ
ทิศใต้และทิศตะวันตกจดตำบลวิชิต

ลักษณะทางกายภาพ

ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม  มีคลองบางใหญ่จากอำเภอกะทู้ ไหลผ่านตัวเมืองออกสู่ทะเล

ลักษณะภูมิอากาศ

อากาศร้อนและฝน มีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพ.ค.-พ.ย. ฤดูร้อนเริ่มเดือน ธ.ค.-เม.ย. โดยเดือนมี.ค.เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดคือ 33.4 OC และเดือน ม.ค. เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดคือ 22 OC

จำนวนชุมชน

17   ชุมชน

จำนวนหลังคาเรือน

20,325 หลังคาเรือน

จำนวนประชากร

75,573 คน (ข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครภูเก็ต ธันวาคม 2551)

ความหนาแน่น

6,298 คน/ตารางกิโลเมตร
phuket-map

แผนที่แสดงอาณาเขต และชุมชนของเทศบาลนครภูเก็ต

 

2. ด้านเศรษฐกิจ

เทศบาลนครภูเก็ต เป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรม ธุรกิจการค้า ศูนย์การค้า ร้านอาหาร โรงแรม สถานบันเทิงต่างๆ ตลาดสด อุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก พื้นที่ส่วนในใจกลางเมืองซึ่งเป็นย่านเมืองเก่า จะเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น และพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องจะเป็นบริเวณที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยเดิม
ย่านเมืองเก่าภูเก็ตศูนย์กลางพาณิชยกรรม

 

3. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการ

3.1 การคมนาคม ภายในเขตเทศบาลนครภูเก็ต มีถนน 174 สาย เป็นถนนลาดยาง 141 สาย  ถนนคอนกรีต 33 สาย  มีสะพาน  28  แห่ง  และสะพานลอยคนข้าม 3  แห่งมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดต่างๆ   ได้สะดวกทั้ง  3  ทาง ได้แก่ ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ มีท่าอากาศยานนานาชาติ 1 แห่งมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  402  เป็นถนนสายหลักผ่านสะพานท้าวเทพกระษัตรี  และสะพานสารสิน ผ่านอำเภอถลางเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ต3.2 การประปา (แหล่งข้อมูล : กองการประปา เทศบาลนครภูเก็ต , ธันวาคม  2549) การประปาเทศบาลนครภูเก็ต ดำเนินการผลิตน้ำประปาเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงนอกเขตเทศบาล  โดยเทศบาลมีแหล่งขุมน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปาของเทศบาลเอง  จำนวน  3 แห่ง มีอัตรากำลังการผลิตทั้งสิ้น 1,090 ลบ.ม./ชม. หรือ 26,160 ลบ.ม./วัน  แบ่งตามแหล่งขุมน้ำ ดังนี้1.     ระบบผลิตขุมน้ำเทศบาล  กำลังการผลิต 70  ลบ.ม./ชม. หรือ 1,680 ลบ.ม./วัน
2.     ระบบผลิตขุมน้ำสวนเฉลิมพระเกียรติ  กำลังการผลิต 150 ลบ.ม./ชม. หรือ  3,600 ลบ.ม./วัน
3.     ระบบผลิตถนนดำรง กำลังการผลิต 870 ลบ.ม./ชม. หรือ 20,880 ลบ.ม./วัน

นอกจากนี้ เทศบาลยังต้องซื้อดิบจากของเอกชนมาผลิตน้ำประปา รวมทั้งซื้อน้ำจากการประปาภูมิภาคอีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน  สำหรับแนวโน้มการใช้น้ำในอนาคต  คาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้น้ำเพิ่มขึ้นอีกทุกปี  เนื่องจากความเจริญเติบโตของชุมชนเมือง  และจากการที่ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก

3.3 การศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต จัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยการจัดการศึกษาในระบบ เทศบาลได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต 6 โรงเรียน โดยเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน  ในส่วนของการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน  เน้นผู้มีโอกาสและผู้ด้อยโอกาสในสังคม ด้วยการส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพระยะสั้น การฝึกอบรมภาคฤดูร้อนหลักสูตรต่างๆ

นอกจากนี้  ยังส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นเห็นคุณค่าของประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวภูเก็ต โดยการจัดให้มีงานประเพณีในโอกาสต่างๆ  วันสำคัญอันเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์  หรือ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับคนในท้องถิ่น รวมถึงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมให้ชาวภูเก็ตเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ไว้ เพื่อสืบสานต่อไปยังชนรุ่นหลัง เช่น วัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีพื้นเมืองภูเก็ต การจัดงานย้อนอดีตเมืองภูเก็ต  เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมอาคารรูปแบบชิโน – โปรตุกีสของชาวภูเก็ตดั้งเดิม  ตลอดจนส่งเสริมความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกด้วย

            3.4 การสาธารณสุข

สถานพยาบาล สถานพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพ ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต มีโรงพยาบาล จำนวน 2 แห่ง เป็น  โรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มีเตียงคนไข้ 200 เตียง โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เป็นโรงพยาบาลทั่วไป  มีเตียงคนไข้ จำนวน 503 เตียง และมีศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ตอีก 3 ศูนย์  คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 1, 2 และ 3 เทศบาลนครภูเก็ต

3.5 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  • เทศบาลนครภูเก็ต มีสถานีดับเพลิง  จำนวน  2  สถานี
    – เจ้าหน้าที่สามัญงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    – เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 6
    – เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5
    – เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1
  • ลูกจ้างประจำ
  • พนักงานจ้างตามภารกิจ
  • พนักงานจ้างทั่วไป
  • มีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
มีอัตรากำลังรวม  61  คน
จำนวน     9   คน
จำนวน     4   คน
จำนวน     2   คน
จำนวน     3   คน
จำนวน   21   คน
จำนวน   14   คน
จำนวน   17   คน
จำนวน   826  คน

เครื่องมือเครื่องใช้ของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  • รถยนต์ดับเพลิง
  • รถยนต์บรรทุกน้ำดับเพลิง
  • รถยนต์บันไดเลื่อน
  • รถยนต์กู้ภัย
  • รถยนต์ตรวจการณ์
  • เครื่องสูบน้ำดับเพลิง
  • เครื่องเคมีดับเพลิง
  • วิทยุสื่อสารชนิดมือถือ
  • ชุดกันไฟอลูมิไนท์
  • เครื่องช่วยหายใจ
  • ชุดดับไฟอาคาร (ผ้าทนไฟ 3 ชั้น)
  • ชุดดับไฟอาคาร (ชุดหมี)
  • ท่อธารประปาดับเพลิง
  • แหล่งน้ำดับเพลิงขนาดใหญ่
จำนวน     9   คัน
จำนวน  10   คัน
จำนวน    3   คัน
จำนวน    2   คัน
จำนวน    4   คัน
จำนวน     5   เครื่อง
จำนวน    290 ถัง
จำนวน   69   เครื่อง
จำนวน     6   ชุด
จำนวน   18   เครื่อง
จำนวน   35   ชุด
จำนวน   60   ชุด
จำนวน   170   ท่อ
จำนวน    6   แห่ง

 

 

4. ด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ

            4.1     ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินของเทศบาลนครภูเก็ต

ในพื้นที่ธุรกิจและอยู่อาศัยเป็นที่ราบลาดจากเหนือลงใต้ มีเนินเขารังและเขาโต๊ะแซะขนาบ ส่วนกลางเมืองเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการละลายของดินและน้ำท่วมในเมืองได้ ในบริเวณถนนเยาวราช ถนนเทพกระษัตรี  ถนนดำรง ถนนแม่หลวนและถนนอำเภอ ส่วนพื้นที่ราบต่ำบริเวณสะพานหิน และชุมชนสะพานร่วม  เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อภัยคลื่นยักษ์

 

4.2     ทรัพยากรป่า สวนสาธารณะ และที่พักผ่อน ในเขตเทศบาลไม่มีพื้นที่ป่าธรรมชาติ มีเฉพาะป่าซึ่งอยู่นอกเขตบริเวณเขารัง เขาโต๊ะแซะ มีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ในสวนสาธารณะและที่ดินเอกชน มีสวนสาธารณะในความรับผิดชอบ  ประกอบด้วย

สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ (ร.9) เนื้อที่ประมาณ 350 ไร่ ในพื้นที่มีขุมน้ำ 5 ขุม รอบพื้นที่มีคลองรับน้ำไหลลงสู่คลองท่าแครง ภายในสวนมีผู้ใช้เป็นที่ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจในยามเช้าและเย็นเป็นจำนวนมาก จากสภาพแวดล้อมของสวนยังต้องมีการปรับปรุงอีกมาก โดยเฉพาะในหน้าแล้งน้ำในขุมเน่าเหม็น ซึ่งต้องหารูปแบบการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับที่พักผ่อนในอนาคต

สวนสาธารณะสะพานหิน  เป็นแหลมอยู่ทางทิศใต้ของพื้นที่เทศบาล  พื้นที่ประมาณ 207 ไร่  มีการใช้ที่ดินสำหรับเป็นพื้นที่นันทนาการ สวนสาธารณะ ศูนย์การกีฬา มีเวทีสำหรับการจัดงานตามเทศกาลต่างๆ และมีร้านค้าอาหาร แผงลอยและล้อเข็นจอดขายอยู่ตามที่ต่างๆ จำนวนมาก สะพานหินเป็นที่พักผ่อนชายทะเลแห่งเดียวที่เทศบาลนครภูเก็ตรับผิดชอบ ซึ่งยังต้องมีการปรับปรุงให้เป็นที่ท่องเที่ยวในเมือง ท่าเรือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พร้อมกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ

สวนสาธารณะเขารัง เป็นสวนที่อยู่บนเขาทางทิศเหนือของพื้นที่ มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ สภาพเป็นป่าที่เป็นธรรมชาติ จัดให้เป็นจุดชมวิวซึ่งมองเห็นเมืองภูเก็ต อ่าวภูเก็ต อ่าวฉลองได้ชัด ทางขึ้นเริ่มจากสี่แยกถนนแม่หลวน – ปฏิพัทธิ์  ซึ่งยังต้องมีการพัฒนาปรับปรุงสภาพและบำรุงรักษาให้มีสภาพคงธรรมชาติไว้

สวนสาธารณะ 72 พรรษา เป็นสวนที่อยู่ส่วนกลางเมืองเนื้อที่ 9 ไร่ มีคลองบางใหญ่เลียบผ่าน  ออกแบบเป็นที่จอดรถ  ที่พักผ่อน  ที่สำหรับจัดงานต่าง ๆ

 

 

สภาพสวนสาธารณะของเทศบาลนครภูเก็ต

            4.3     ทรัพยากรน้ำ

  • คลอง คลองบางใหญ่เป็นคลองที่มีความยาว 20 กิโลเมตร อยู่ในเขตเทศบาล 8 กิโลเมตร  และมีคลองแยกลงสู่อ่าวภูเก็ต ผ่านชุมชนการเคหะและลงสู่คลองท่าจีน ส่วนด้านทิศตะวันตกมีคลองท่าแครงรับน้ำจากถนนเจ้าฟ้า ลงสู่คลองบางใหญ่บริเวณวิทยาลัยสารพัดช่าง และยังมีคลองแช่แรด ซึ่งเป็นคลองขนาดเล็ก
    มีลำราง 29 สาย รวมความยาว 8,091 เมตร และ
    ท่อระบายน้ำ 263 สาย  ความยาว  180,849 เมตร
  • ขุมน้ำสาธารณประโยชน์  ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต  มีจำนวน 16 ขุม

 

 

5. การจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม

            5.1     อากาศ
การตรวจสอบคุณภาพอากาศ (Clean Air)  ของกรมควบคุมมลพิษ  ทุกค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศของเตาเผา  พบว่าบรรยากาศ  มีค่าไม่เกินมาตรฐาน

            5.2     น้ำและระบบบำบัดน้ำ   

                     ในพื้นที่เขตเทศบาลนครภูเก็ต  มีการใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)  น้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย โดยบ่อเติมอากาศ จะฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนแล้วระบายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยระบบดังกล่าวมีขนาด 36,000  ลบ.ม./วัน  ซึ่งยังไม่ครอบคลุมทั่วพื้นที่  โดยยังมีพื้นที่ที่น้ำเสียไม่เข้าระบบ  จะต้องปรับปรุงระบบท่อระบายน้ำ  ท่อดักน้ำเสีย ให้ผ่านการบำบัด 8 โซน คือ บริเวณสามกอง สะพานปลารัษฎา สะพานถนนดีบุก  ชุมชนสะพานร่วม  ซอยภูธร ถนนติลกอุทิศ 2  ชุมชนสะพานร่วม 1,2  ชุมชนร่วมน้ำใจ  บริเวณถนนเยาวราชฝั่งสามกอง และบริเวณอื่นๆ  นอกจากนี้ เทศบาลยังมีการดำเนินการบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ คลองระบายน้ำ และขุมน้ำ

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน
(
Oxidation Ditch) ของเทศบาลนครภูเก็ต

           5.3    การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และรางระบายน้ำ

เทศบาลนครภูเก็ต เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยของจังหวัดภูเก็ตจากทุกองค์กรปกครองท้องถิ่นและจากเอกชน  ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด  1 แห่ง เทศบาล 6 แห่ง  องค์การบริหารส่วนตำบล 12 แห่ง  รวมทั้งขยะของที่พักอาศัย ร้านค้า สถานประกอบการของเอกชน  มีระบบกำจัดขยะซึ่งอยูในศูนย์กำจัดขยะพื้นที่ประมาณ  291 ไร่เศษ ดังนี้
โรงงานเผาขยะมูล เป็นอาคารเตาเผาขยะ สูง 6 ชั้น  ภายในประกอบด้วยเตาเผา 1 ชุด  เผามูลฝอยได้ 250 ตัน/วัน  ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง    ผลิตไฟฟ้าได้  2.5  เมกะวัตต์  สำหรับใช้ในโรงเผาขยะมูลฝอย  และมีไฟฟ้าส่วนเกินนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้  สามารถรับกำจัดขยะได้ไม่น้อยกว่า 80,000 ตัน/ปี  ซึ่งเตาเผานี้ได้ออกแบบไว้สำหรับเพิ่มขนาดได้เป็น 500 ตัน/วัน  เพื่อรองรับการกำจัดขยะและแก้ไขปัญหาขยะของจังหวัดภูเก็ต จึงจำเป็นจะต้องเพิ่มระบบควบคุมมลพิษทางอากาศให้ได้มาตรฐาน และเพิ่มห้องเผาขยะอีก 1 ชุด และมีการนำพลังงานความร้อนจากขยะไปใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุด

ภาพแสดงอาคารเตาเผาขยะและห้องควบคุม

 

การจัดการมูลฝอยแบบฝังกลบ  มี 5 บ่อ พื้นที่ 120 ไร่ ใช้มาตั้งแต่ปี 2535 ได้กลบขยะไปแล้ว   และสามารถกลบฝังขยะได้ไม่เกิน  200,000  ตัน  ซึ่งต้องขยายพื้นที่ชั้นที่ 3 รองรับขยะ หากใช้ควบคู่กับโรงเผาขยะ  สามารถใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี

ภาพแสดงการจัดการมูลฝอยแบบฝังกลบ

การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ  เตาเผาขยะติดเชื้อ ขนาด 3 ตัน/วัน ใช้กำจัดขยะติดเชื้อของจังหวัดภูเก็ต วันละ 700 – 800 กิโลกรัม  ยังต้องมีการปรับปรุงให้มีระบบควบคุมมลพิษ มีระบบขนถ่ายที่ได้มาตรฐานปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดภูเก็ต   ตั้งแต่ปี  2545   มีปริมาณ  112,743 ตัน/ปี  และปี 2549  มีปริมาณ 156,688  ตัน/ปี  โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นของขยะเฉลี่ยร้อยละ 6.3/ปี  สำหรับในเขตเทศบาลนครภูเก็ตเอง  ปี 2548  มีขยะ  38,363  ตัน/ปี และ ปี 2549  มี  39,692  ตัน/ปีปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตประสบกับปัญหาปริมาณขยะมีเกินกว่าขีดความสามารถของโรงงานเผาขยะ และพื้นที่ฝังกลบขยะ ซึ่งสามารถใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี จำเป็นต้องแก้ปัญหา โดยเพิ่มชุดเผาขยะอีก 1 ชุด ให้ได้ 500 ตัน/วัน  และเร่งรัดการนำขยะอินทรีย์ซึ่งมีปริมาณสูง ไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ  เพื่อลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน  ตลอดจนยังต้องปรับปรุงโรงงานคัดแยกวัสดุใช้แล้วขนาด 300 ตัน/วัน ที่เอกชนลงทุนให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งอัตราขยะในเขตเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตประสบกับปัญหาปริมาณขยะมีเกินกว่าขีดความสามารถของโรงงานเผาขยะ และพื้นที่ฝังกลบขยะ ซึ่งสามารถใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี จำเป็นต้องแก้ปัญหา โดยเพิ่มชุดเผาขยะอีก 1 ชุด ให้ได้ 500 ตัน/วัน  และเร่งรัดการนำขยะอินทรีย์ซึ่งมีปริมาณสูง ไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ  เพื่อลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน  ตลอดจนยังต้องปรับปรุงโรงงานคัดแยกวัสดุใช้แล้วขนาด 300 ตัน/วัน ที่เอกชนลงทุนให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

 

6. ปัญหาและภัยสำคัญของภูเก็ต

ประเภทของ
สาธารณภัย

สาเหตุ

พื้นที่และกลุ่มเสี่ยงภัย/
ได้รับผลกระทบ

มาตรการ/แนวทางป้องกันแก้ไข

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/รับผิดชอบ

1. บุกรุก
  • ประชากรมาก ชุมชนเมืองขยาย
  • เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่มีการบังคับใช้กฎหมายจริงจัง
  • เปิดหน้าดิน/ ขุดดิน/ ฝนชะล้าง
  • หมู่บ้านแสนสุข
  • ถนนปะเหลียน
  • ให้ชุมชนมีมติ/สร้างกลไกให้เข้มแข็ง
  • ประชาชนช่วยกันดูแล/ เฝ้าระวัง
  • เจ้าของที่ดิน
  • ทน.ภูเก็ต
2. ดินถล่ม
  • กมลา
  • กะทู้
  • รัษฎา
  • ป่าตอง
  • วัดปริมาณน้ำฝนเพื่อเฝ้าระวัง และเตือนภัยกรณีเกิดฝนตกหนัก
  • อบรมให้ความรู้กับประชาชน
  • ระบุพื้นที่เสี่ยงภัย
  • ปภ.ภก
  • อปท.ในพื้นที่
  • ทสจ.
3. สึนามิ
  • ไม่มีประสบการณ์ หรือเคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน
  • ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินเป็นอย่างมาก
  • ป่าตอง (อาคารและสิ่งปลูกสร้าง)
  • กมลา (กายภาพ)
  • นักท่องเที่ยว
  • ชุมชนที่อยู่ติดชายหาด
  • พื้นที่ราบต่ำบริเวณสะพานหิน และชุมชนสะพานร่วม
  • ให้ความรู้กับชุมชนและนักท่องเที่ยว
  • พัฒนาระบบเตือนภัย/ข่าวสาร
  • จัดโซนพื้นที่
  • ปลูกป่าชายเลนเพื่อป้องกัน
  • จัดทำหลักสูตรการเตรียมการหรือรับมือ (สำหรับภัยพิบัติทุกชนิด และบรรจุในหลักสูตรของโรงเรียน)
  • ปภ.ภก
  • อปท.ในพื้นที่ และ อบจ.
4. น้ำท่วม
  • มีการทำลายแหล่งต้นน้ำ
  • ต้นไม้ถูกทำลาย ทำให้ไม่สามารถชะลอน้ำได้ดีเท่าที่ควร
  • ฝนตกชุก
  • การถมที่เพื่อการก่อสร้างซึ่งปิดกั้นทางระบายน้ำ
  • รัษฎา
  • พื้นที่เมือง (เกิดปัญหาจราจร)
  • ในเขตเทศบาล เช่นชุมชนสามกอง
  • โรงเรียนดาวรุ่ง/วัดใต้ (ต.ฉลอง)
  • ชุมชนในเมือง
  • รณรงค์ปลูกป่าเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำ
  • ทบทวนนโยบายการปฏิรูปที่ดิน
  • ปรับปรุงท่อระบายน้ำ และระบบระบายน้ำ โดยร่วมกับ อปท.ข้างเคียงด้วย
  • การบังคับใช้กฎหมาย
  • ทน.ภูเก็ต
  • นายทุน/นักลงทุน
5. น้ำอุปโภค/บริโภค
  • ปัญหาความแห้งแล้งในบางฤดู
  • ขาดแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
  • แหล่งน้ำที่มีอยู่กักเก็บน้ำได้น้อย และปริมาณน้ำดิบในแหล่งน้ำที่มีอยู่ลดลง ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบ เพื่อนำไปผลิตน้ำประปาบริการประชาชนในเขตเทศบาล  และพื้นที่ใกล้เคียง
  • แหล่งน้ำที่มีอยู่ถูกคุกคาม/ทำลาย และปนเปื้อนสารพิษ/น้ำเสียจากครัวเรือน
  • ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น จากชุมชนเมืองขยาย และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงฤดูท่องเที่ยว
  • ขาดการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทั้งเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมือง แหล่งท่องเที่ยว เช่น กะตะ กะรน ราไวย์ กะทู้
  • ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีการกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในครัวเรือน
  • พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่เดิมให้อยู่ในสภาพดี
  • เทศบาลต้องจัดหาแหล่งน้ำดิบ  โดยจัดซื้อขุมน้ำเอกชนมาเป็นทรัพย์สินของเทศบาลเอง  (แต่ขาดงบประมาณอยู่)
  • ประสานกับกรมชลประทานในการใช้น้ำดิบที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำบางวาด มาใช้ในการผลิตน้ำประปา
  • รัฐบาลควรเพิ่มการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานนำน้ำมาใช้บนเกาะภูเก็ต ปัจจุบันมีแผนงานระดับจังหวัด คือ การพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติมบนเกาะภูเก็ต  ตามที่จังหวัดภูเก็ตเสนอ  ซึ่งเป็นไปตามแผนการปรับปรุงเกาะภูเก็ตเป็นเมืองนานาชาติ
  • โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำ
  • โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองกระทะ
  • ปรับปรุงเพิ่มเติมความจุของอ่างเก็บน้ำบางวาด
  • รณรงค์ให้มีการมีการใช้น้ำอย่างประหยัด
  • รัฐบาล
  • จังหวัด
  • อปท.ในพื้นที่
  • ประปาของ ทน.ภูเก็ต และประปาส่วนภูมิภาค
  • ประชาชนในพื้นที่
6. ขยะ
  • ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว)
  • ไม่มีระบบการคัดแยกขยะและนำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
  • ประชาชนขาดจิตสำนึกในการทิ้งและคัดแยกขยะ
  • ระบบการกำจัดขยะ
  • มีการใช้ถุงพลาสติกมากซึ่งเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก
  • แหล่งท่องเที่ยว
  • สถานที่ฝังกลบและบริเวณรอบๆ
  • ประชาชน
  • นักท่องเที่ยว
  • สร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวในการทิ้งทั่วไป และการคัดแยกขยะ
  • รณรงค์ในเด็กและเยาวชน (ใส่ในหลักสูตร)
  • ปรับปรุงหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อม
  • ปรับปรุงการจัดเก็บและกำจัดขยะ
  • รณรงค์ลดการใช้ถุง พลาสติก และส่งเสริม
    ให้มีการใช้ถุงพลาสติก
    ที่ย่อยสลายได้
  • สร้างกลไกการเพิ่มมูลค่าขยะที่สามรถนำไปรีไซเคิลได้ (การประกันราคา)
  • มีนโยบายสร้างเตาเผาขยะเพิ่มเพื่อกำจักขยะ
  • ให้ภูเก็ตเป็นพื้นที่ปกครองพิเศษ
  • อบจ.
  • อปท.ในพื้นที่
  • ทสจ.และ สสภ.15
7.น้ำเสีย
  • ส่วนใหญ่มาจากน้ำเสียจากภาคครัวเรือน
  • ไม่มีการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นจากครัวเรือนก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
  • ขาดการบูรณาการร่วมกับ อปท. รอบข้าง
  • พื้นที่บุกรุก
  • ในเขต ทน. – ชุมชนแสนสุข สะพานร่วม ร่วมน้ำใจ
  • รัษฎา
  • วิชิต
  • คลองบางใหญ่/ ปลายแหลมสะพานหิน
  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน
  • รัษฎา
  • วิชิต
  • ทน.ภูเก็ตมีการวางท่อรวบรวมน้ำเสียอยู่แล้วแต่ยังไม่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ (ขาดไปประมาณ 30%)
  • ต้องการการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อทำให้ครอบคลุมพื้นที่ของเทศบาลทั้งหมด
  • ควรบูรณาการร่วมกับ อปท. รอบข้าง
  • ทน.ภูเก็ต
  • อปท. รอบข้าง
  • ทสจ. / สสภ. 15
8. การท่องเที่ยว
  • ขาดระบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยคนในท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วม
  • แพ็คเกจทัวร์เบ็ดเสร็จ ไม่มีการใช้มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และคนท้องถิ่นไม่ค่อยได้รับผลประโยชน์ (เป็นของนายทุน)
  • มัคคุเทศก์น้อยที่อบรมไว้ไม่สามารถทำงานหรือฝึกงานได้
  • มีการท่องเที่ยวเกินศักยภาพ
  • อปท.ไม่สามารถควบคุมหรือตรวจสอบได้
  • ป่าตอง
  • กะตะ
  • กะรน
  • แหล่งท่องเที่ยวอื่น
  • ผู้ประกอบการ/คนท้องถิ่น
  • มัคคุเทศก์ท้องถิ่น
  • อปท.เจ้าของพื้นที่
  • นักท่องเที่ยว (ไม่รู้ข้อมูลหรือประวัติของสถานที่นั้นๆ อย่างแท้จริง หรือถูกหลอกให้ซื้อของ)
  • จัดระบบการท่องเที่ยวให้เป็นระบบที่ไม่ผูกขาด
  • เปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวจาก Sea Sand Sun มาเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และวัฒนธรรม ซึ่งทำให้สามารถส่งเสริมให้เกิดไกด์ท้องถิ่น หรือการใช้ไกด์ท้องถิ่นมากขึ้น
  • ให้ภูเก็ตเป็นพื้นที่ปกครองพิเศษ
  • จัดทำประชาคม และยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยการยอมรับของคนในพื้นที่
  • สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว
  • ททท.
9. จราจร/ อุบัติเหตุ
  • ปริมาณรถยนต์มาก
  • ขาดวินัยในการใช้รถและถนน
  • ป้ายสัญญาณไฟจราจรชำรุด
  • ความไม่เคยชินกับการขับขี่ในพื้นที่ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว
  • เขาป่าตอง
  • เขตเมือ
  • โค้งคอเอน
  • วัยรุ่น
  • นักท่องเที่ยว
  • ปรับปรุงระบบขนสางมวลชน
  • จำกัดการมีรถของแต่ละครัวเรือน เช่น ถ้าจะซื้อรถต้องมีที่จอดรถรองรับด้วย
  • ปรับปรุงระบบการจราจร
  • ปรับปรุงผิวถนน
  • ตรวจสอบสภาพรถ
  • รณรงค์การเมาไม่ขับ
  • ตำรวจจราจร
  • อปท.
10. ประชากรแฝง
  • ความหละหลวมในการตรวจสอบคนเข้าเมือง
  • ผู้ประกอบการขาดความร่วมมือ
  • ความต้องการแรงงานต่างชาติ เนื่องจากแรงงานไทยไม่ต้องการทำงานชนิดนั้นๆ
  • การอนุญาตให้แรงงานต่างชาติทำงานได้หลากหลายประเภทมากเกินไป
  • แพปลารัษฎา
  • ชุมชน 40 ห้อง
  • ป่าตอง (แขกปากีสถาน)
  • ผลกระทบคือความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่สามารถให้บริการด้านสาธารณสุขได้ทั่วถึง
  • การระบาดของโรคติดต่อบางชนิด
  • คนไทย (ถูกแย่งงาน)
  • ปรับเปลี่ยนนโยบายจากภาครัฐ โดยจำกัดประเภทงานที่แรงงานต่างด้าวจะทำได้
  • เข้มงวดกับผู้ประกอบการ และการตรวจคนเข้าเมือง
  • จัดโซนที่อยู่ให้สำหรับแรงงานต่างด้าว
  • แรงงานจังหวัด

 

M-BRACE

เสริมสร้างการรับมือของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Mekong-Building Climate Resilient Asian Cities

Get In Touch