ประเทศไทยโดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้รับเลือกเป็นแกนนำเครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Southeast Asia Core Team Member) ภายใต้เครือข่ายธรรมภิบาลสิ่งแวดล้อมโลก(The Access Initiative (TAI)

เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมโลก(The Access Initiative: TAI)คือเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของประชาชน องค์กรสมาชิกของเครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ดำเนินงานบนหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในทุกระดับ

ในปัจจุบันเครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมทั่วโลกมีแกนนำของประเทศในภูมิภาคต่างๆ(Core Team Member)ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ยุโรป, แอฟริกา, ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน, เอเชียใต้, อเมริกาเหนือ และภูมิภาคอื่นๆผลงานของเครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงที่ผ่านมาสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ http://www.accessinitiative.org/region/south-east-asia และผลงานการดำเนินงานของเครือข่าย ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมไทยในช่วงที่ผ่านมาสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่http://www.tei.or.th/tai/

Thailand represented by Thailand Environment Institute (TEI) has been selected to be the Southeast Asia Core Team Member of The Access Initiative (TAI), World Resource Institute (WRI)

TAI is the world largest network of civil society organizations dedicated to ensuring that local communities have rights and abilities to gain access to information, and to participate in decisions that affect their lives and their environment. Members from around the world carry out evidence-based advocacy to encourage collaboration and innovation that advances transparency, accountability, and inclusiveness in decision making at all levels.

At present, TAI has core team members from 6 regions, namely: Southeast Asia, Europe, Latin America, the Caribbean, South Asia, North America. The achievements of TAI Southeast Asia can be found at http://www.accessinitiative.org/region/south-east-asia and the track record of TAI Thailand can be found at http://www.tei.or.th/tai/

เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมสากล The Access Initiative (TAI)

 

เป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศขององค์กรภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้รัฐปฏิบัติตาม หลักการข้อที่ 10 * ของ “ ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ” อันเป็นผลจากการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อปีพ.ศ. 2535 ที่ระบุว่าการจัดการในเรื่องสิ่งแวดล้อมจะทำได้ดีที่สุด เมื่อประชาชนมีส่วนร่วมและรัฐจะต้องส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนใน การได้รับข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจ และการเข้าถึงความยุติธรรม เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมสากลก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 โดยการริเริ่มขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม 5 องค์กร ซึ่งเป็นองค์กรแกนหลักของเครือข่าย ซึ่งในปัจจุบัน มี องค์กรแกนหลัก 6 องค์กร ได้แก่

 

World Resources Institute (WRI), สหรัฐอเมริกา
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ( TEI ) , ประเทศไทย
Environmental Management and Law Association (EMLA), ฮังการี
Corporacion Participa, ชิลี
Advocates Coalition for Development and Environment (ACODE), ยูกันดา
Iniciativa de Acceso-Mexico (IA-Mex), เม็กซิโก

  *Principle 10


Environmental issues are best handled with participation of all concerned citizens, at the relevant level. At the national level, each individual shall have appropriate access to information concerning the environment that is held by public authorities, including information on hazardous materials and activities in their communities, and the opportunity to participate in decision-making processes. States shall facilitate and encourage public awareness and participation by making information widely available. Effective access to judicial and administrative proceedings, including redress and remedy, shall be provided.

 

การเติบโตและการพัฒนาของเครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมสากล

  • ปลายปี 2543-ต้นปี 2544 : พัฒนากรอบแนวคิด วิธีการประเมิน และโครงสร้างองค์กร
  • ปลายปี 2544-2545 : ทดสอบนำร่องตัวชี้วัดใน 9 ประเทศ
  • กันยายน 2545 : เผยแพร่ผลการทดสอบ (หนังสือ “Closing the Gap”) และผลักดันการจัดตั้ง "ภาคีภาพเพื่อหลักการข้อที่ 10 ของปฏิญญาริโอ" ในการประชุมสุดยอดเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WSSD)
  • ปี 2546 -2548 : ปรับปรุงตัวชี้วัด เครือข่ายขยายไปกว่า 40 ประเทศทั่วโลก
  • ปี 2549 : เผยแพร่ตัวชี้วัดชุดล่าสุด (เวอร์ชั่น 2.0) และขยายเครือข่ายต่อไป

ปัจจุบัน มีเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกที่ได้มีการวางแผนหรือได้ทำการประเมินผลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในประเทศตนเอง

ทวีป
แอฟริกา
ทวีป
เอเชียและแปซิฟิก
ทวีป
ยุโรป
ทวีป
ลาตินอเมริกา
ทวีป
อเมริกาเหนือ
  • แคเมอรูน
  • คองโก
  • กาบอง
  • เคนยา
  • มาลาวี
  • แอฟริกาใต้
  • แทนซาเนีย
  • ยูกานดา
  • ซิมบับเว
  • ออสเตรเลีย
  • บังคลาเทศ
  • อินเดีย
  • อินโดนีเซีย
  • (มาเลเซีย)
  • ฟิลิปปินส์
  • ศรีลังกา
  • ไทย
  • เวียดนาม
  • บัลกาเรีย
  • เอสโทเนีย
  • ฮังการี
  • ไอร์แลนด์
  • คาซัคสถาน
  • แลทเวีย
  • ลีทัวเนีย
  • โปแลนด์
  • โปรตุเกส
  • ยูเครน
  • อังกฤษ
  • อาร์เจนตินา
  • บราซิล
  • โบลิเวีย
  • ชิลี
  • โคลัมเบีย
  • คอสตาริกา
  • เอกวาดอร์
  • เอล ซัลวาดอร์
  • กัวเตมาลา
  • ฮอนดูรัส
  • นิคารากัว
  • ปารากวัย
  • เปรู
  • เวเนซูเอลา
  • สหรัฐอเมริกา
    (แคลิฟอร์เนียและโอไฮโอ)
  • เม็กซิโก

 

เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมประเทศไทย ( TAI Thailand )

 

การประเมินธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

  • ประเมินมาแล้ว 3 ครั้ง โดยเครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมไทย
  • ครั้งแรก พ.ศ. 2544 (ทดสอบนำร่อง) -- 9 กรณีศึกษา เช่น โคบอลต์ 60 หินกรูด คลองด่าน
  • ครั้งที่สอง พ.ศ. 2548 -- 22 กรณีศึกษา เช่น ไข้หวัดนกระยะแรก คุณภาพอากาศในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำระบบโครงข่ายน้ำ ร่างพระราชบัญญัติน้ำ โครงการธนาคารอาหารทะเล
  • ครั้งที่สาม พ.ศ. 2549 -- 18 กรณี เช่น ไข้หวัดนก สึนามิ FTA ไทย-สหรัฐ วิกฤตน้ำภาคตะวันออก นโยบายและคดีแปรรูปกฟผ. คดีท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย

 

ผลการประเมินธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 3

ระเบียบวิธีการประเมิน ใช้ชุดตัวชี้วัดธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม รวม 98 ตัว แบ่งเป็น 5 หมวด ได้แก่

  1. กฎหมายทั่วไป
  2. การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
  3. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  4. การเข้าถึงความยุติธรรม
  5. การพัฒนาขีดความสามารถของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และสื่อสารมวลชนในเรื่องธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม

วิธีการจัดเก็บข้อมูล เก็บข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิ

  • ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กฎหมาย และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ทั้งโดยการเข้าพบและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เป็นต้น
  • ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ รายงานการวิจัย บทความ ข่าว และเว็บไซต์ของหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ดร.สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
ดร.ถวิลวดี บุรีกุล นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข
ศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ รามสูต นางรัชนี เอมะรุจิ
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ดร.สุภาพ พัสอ๋อง
รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ นางอรพรรณ พยัคฆาภรณ์
นางสาวสาวิตรี ศรีสุข นางสาวผกาภรณ์ ยอดปลอบ
นายวัฒน์ ทาบึงกาฬ นายวัชรา ธิตินันทน์
นายชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์ นางสาวเกศินี แกว่นเจริญ
ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นายไพศาล ลิ้มสถิตย์
นางสาวศันสนา มลายอริศูนย์ นางสาวณัฏฐนิช สุ่นสวัสดิ์
  1. คุณหญิง ดร. กัลยา โสภณพนิช กรรมการสภาสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  2. ดร. มณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  3. ดร. ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
  4. นายอิสสระ โชติบุรการ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  5. นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง
  6. นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  7. นพ. ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค
  8. นายอุทัย จันทิมา ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  9. ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  10. ดร. เกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  11. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  12. ดร. โคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  13. ท่านผู้หญิง ดร. สุธาวัลย์ เสถียรไทย ประธานสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  14. นางวนิดา สักการโกศล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  15. นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการสาธารณสุข 10 ชช. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  16. ดร. อัมพันธ์ พินธุกนก ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
  17. ดร. เชาวนะ ไตรมาศ ผู้อำนวยการสถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  18. ดร. ชัชชม อรรฆภิญญ์ ผู้อำนวยการสถาบันกฎหมายอาญา
  19. นายนคร เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและวิเคราะห์สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  20. นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  21. นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
  22. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ
  23. นายไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  24. นายจรูญ ยังประภากร ประธานชมรมสิ่งแวดล้อมสมุทรปราการ
  25. รศ. สุริชัย หวันแก้ว อ.ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  26. อาจารย์ชัยยุทธ สุขศรี อ. ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  27. รศ. พิสิฐ ศุกรียพงศ์ อ. ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  28. นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ประธานชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย