ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสะท้อนผลที่ได้จากการดำเนินโครงการนำร่อง ภาคใต้

โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสะท้อนผลที่ได้จากการดำเนินโครงการนำร่อง วันที่ 2-3 มีนาคม 2567เวลา 9.30-16.00 น. ณ  ห้องการ์เดนท์วิว ชั้น 2 โรงแรมเซาเทริ์นแอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

วันที่ 2 มีนาคม 2567 วันแรกเน้นกิจกรรมสรุปผลลัพธ์โครงการนำร่อง 6 เมืองภาคใต้ภายใต้งานโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง ผ่านกระบวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทบทวนการดำเนินงานภายในทีม จากคำถาม
  • โครงการนำร่องบรรลุผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่อย่างไร วัดจากอะไร
  • โครงการนำร่องลดความเปราะบางของชุมชนและเมืองได้อย่างไรบ้าง
  • รูปธรรมความสำเร็จที่สุดของโครงการคืออะไร น่าสนใจอย่างไร
  • สิ่งที่ยังทำไม่ได้และต้องทำต่อไปคืออะไร ให้ใครทำ...ทำเอง หรือหน่วยงานใดทำบ้าง และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้กับหน่วยงานอะไร อย่างไร
วันที่ 3 มีนาคม 2567 กิจกรรมวันที่สองของเน้นประสานหน่วยงานภาคีความร่วมมือมารับฟังผลการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
  1. ต้องมีวงเรียนรู้ในการบริหารจัดการน้ำของชุมชนเป็นทางออกสำคัญ และการสร้างความมั่นด้านน้ำในระดับครัวเรือนการรื้อฟื้นระบบบ่อน้ำตื่นที่มีอยู่แล้วให้พอใช้ที่ยังไม่มีทำอย่างไรให้มีเพื่อวางแผนการใช้น้ำในฤดูแล้ง การรวมตัวของภาคประชาชนที่จะสร้างการทำงานร่วมกับท้องที่ท้องถิ่นเพื่อสร้างการบริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน ต้องมีกระบวนการในการจัดการแหล่งน้ำ การบำบัดและการใช้อย่างถูกวิธี กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเกษตร ในพื้นที่โตนดด้วนและควนลังจะมีการเข้าไปช่วยในการรวมกลุ่ม โดยใช้โมเดลในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้าไปส่งเสริมพัฒนา การฟื้นฟูบ่อน้ำตื้นเป็นสิ่งที่ควรทำในทุกๆ บ้าน ปัญหาการจัดการขยะตามแม่น้ำลำคลอง
  2. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก การทำงานร่วมกับชุมชนคือการสร้างเป็นเครือข่ายเพื่อพยากรณ์อากาศ แต่มีข้อจำกัดคือบางพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถใช้เป็น โดยต้องมีการศึกษาร่วมกันผ่านไลน์ โดยให้ลูกหลานของเกษตรกรมาฝึกอบรมร่วมกัน การเรียนรู้ข้อมูลจากอุตุนำมาใช้ในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต้องสร้างความร่วมมือกับเกษตรในการออกแบบการทำงาน ส่วนประมงก็ต้องมีข้อมูลเพื่อการพยากรณ์อากาศ เปลี่ยนตามที่ชุมชนต้องการ แต่ละปีจะมีการประเมินเพื่อปรับปรุงการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  3. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพื้นที่ภาคใต้ มีหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนว่าหน่วยงานรัฐมีการตรวจสอบช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับการละเมิดสิทธิ การขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ต้องเกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ ต้องไม่เลือกปฏิบัติหรือเป็นประโยชน์กับใครคนใดกลุ่มหนึ่ง สิ่งที่ทำคือประเด็นสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและการขจัดความรุนแรงในครอบครัว ในส่วนที่จะร่วมได้คือเป็นสำนักภูมิภาคแห่งแรกในกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนจะมีทั้งส่วนกลางและพื้นที่ และมีบทบาทในการให้ข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อให้หน่วยงานแก้ปัญหาในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบหรือได้รับการละเมิดสิทธิมนุษยชน นำข้อเสนอนโยบายต่อรัฐมนตรีเพื่อแก้ปัญหาเชิงระบบ รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิสามารถประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือแลกเปลี่ยนได้
  4. พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนาย์จังหวัดสงขลา การทำงานผ่านกระบวนการเชิงนโยบายถึงจังหวัดและชุมชนมีกลไกที่เป็นการทำงานในการปฏิบัติ การติดตาม การจัดการองค์ความรู้สาธารณะ การทำงานร่วมกับภาคีต่างๆ เป็นการทำงานที่เป็นหุ้นส่วนทางสังคม โดยพม ขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นกระบวนการทุกมิติทางสังคม เติมเต็มและเน้นหนักในเรื่องของที่อยู่อาศัย พม.ทุกจังหวัดมีพันธกิจในเรื่องการช่วยเหลือผู้เปราะบางและเรื่องที่อยู่อาศัยเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  5. สำนักงานส่งเสริมการเกษตรที่ 5 สงขลา มีระบบการส่งเสริมเกษตรเชิงพื้นที่ จัดให้ตามความต้องการโดยมีศูนย์ปฏิบัติการในพื้นที่หรือผ่านผู้จัดการในพื้นที่ ภารกิจหนึ่งในการทำงานร่วมกับ ศูนย์บริการเทคโนโลยีระบบเกษตรที่ถ่ายโอนให้อปท.ซึ่งโครงสร้างมีผู้บริหารของท้องถิ่นเป็นประธาน มีเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลเป็นเลขาของศูนย์ หากท้องถิ่นฟื้นศูนย์ฯนี้จะมีเจ้าหน้าที่ในการดูแล ในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน มีศจต.เป็นกลไกที่สร้างหมอพืชตำบลหมอพืชชุมชนเป็นหน่วยงานเบื้องต้นในการขับเคลื่อน และจังหวัดมีศูนย์อารักขาพืช มีศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านการอารักขาพืช และการแก้ปัญหาในเรื่อง PM 2.5 ลดการเผาในพื้นที่ลดให้ได้ 50 % จากปีที่แล้วและต่อถัดๆไป
  6. ปภ. สงขลา  สิ่งที่จะทำร่วมกันได้ในการจัดทำแผนผังภูมินิเวศ ในเรื่องของการจัดทำแผนรับมือเส้นทางน้ำ แผนบริหารจัดการน้ำ แต่ละจังหวัดมีปภ แต่ละพื้นที่ ปภ สามารถบูรณาการ และมีแผนชุมชนในการป้องกันภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีการทำเส้นทางน้ำ พื้นที่อพยพ พื้นที่บ่อยางในการเสริมสร้างองค์กรชุมชนเข้มแข็งมีตัวชี้วัดที่น่าสนใจคือการเพิ่มศักยภาพโดยใช้ตัวชี้วัดตามกรอบการลดความเสี่ยงระดับโลก เพิ่มจำนวนผู้คนที่ได้รับผลกระทบ ได้รับบาดเจ็บจากภัยพิบัติ เมืองควนลังที่จะมีแผนบริหารจัดการน้ำ ควรเปลี่ยนชื่อให้เป็นภาพใหญ่ใช้ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแนวสนับสนุนและใช้งบทั้งพื้นที่และงบฟังชั่น ปภ. มีงบป้องกันยับยั้งเพื่อป้องกันการเกิดภัย ซึ่งสามารถบูรณาการโครงการในการพัฒนาแหล่งน้ำ ฝายหรือสิ่งก่อสร้างที่ป้องกันได้
  7. ศูนย์วิจัย มอ. มีภาคีเครือข่ายต่างๆ ทำงานร่วมกันมากกว่า 10 ปี งานวิจัยส่วนใหญ่ทำในพื้นที่ภาคใต้ ศูนย์สามารถสนับสนุนในเรื่องขององค์ความรู้ งานวิจัยต่างๆ เพื่อใช้ในการเตรียมรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ