ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (AATHP) ริเริ่มและเกิดขึ้นจากสถานการณ์ไฟไหม้ป่าในประเทศอินโดนีเซียซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายนของทุกปี ได้ส่งผลให้เกิดหมอกควันและฝุ่นละอองปกคลุมบริเวณพื้นที่ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ บูรไน สิงคโปร์ มาเลเซีย และภาคใต้ตอนล่างของไทย ส่งผลต่อการคมนาคมทางบก ทางน้ำและทางอากาศ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซี่ยนจึงได้ลงนามร่วมกันเมื่อ 10 มิถุนายน 2545 ให้เป็นแผนงานความร่วมมืออาเซียนว่าด้วยการควบคุมมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนขึ้นในปี 2559 โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่จะทำให้อาเซียนปลอดหมอกควัน
เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาความร่วมมือไทย-ลาว-เมียนมา ขับเคลื่อนการจัดการและลดมลพิษหมอกควันข้ามแดน โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI นำโดย ดร. วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ทีป่รึกษาโรงการ ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษและหมอกควันข้ามแดน ดร.เกศศินี อุนะพำนัก กรมควบคุมมลพิษ ผู้เชี่ยวชาญด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมด้วยทีมวิจัย ร่วมการประชุมกลุ่มย่อยหารือประเด็นงาน Transboundary Haze-free ASEAN ร่วมกับ Dr.Faizal, Global Environment Center (GEC)โดยมีการแลกเปลี่ยนประเด็นและแผนงานอากาศสะอาดว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียน เพื่อควบคุมมลพิษหมอกควันข้ามพรมแดน การสนับสนุนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ความร่วมมือลดการเผาป่า เกษตรกรรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้กรอบยุทธ์ศาสตร์ฟ้าใส หรือ CLEAR Sky Strategiesสู่การผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านไทย ลาว เมียนมา ดำเนินกิจกรรมลดการเผา กรอบการลงทุนด้านการเงินของอาเซียน เพื่อส่งเสริมการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ซึ่งในช่วงปี 2566-2573 มีแนวทางการสร้างความร่วมมือลดการเผา กลุ่มภาคประชาสังคม และภาคเอกชนได้เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนและผลักดันร่วมกับภาครัฐมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือเรื่องการพัฒนาดำเนินงานด้านการลดการเผาและเหมอกควันข้ามแดนร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยในระยะต่อไปด้วย
ทั้งนี้ Transboundary Haze มีบทบาทของสมาชิก ASEAN เพื่อร่วมกันจัดจัดการกับปัญหาการเผาและหมอกควันที่เกิดขึ้นร่วมกัน จาการเผาไหม้ป่าและพื้นที่ทางการเกษตรในภูมิภาค ซึ่งส่งผลกระทบกับสุขภาพและสภาพแวดล้อมในประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้เกิดความร่วมมือระหว่างสมาชิกในการจัดการปัญหา สร้างเครือข่ายเพื่อติดตาม และรายงานสถานการณ์หมอกควันข้ามแดน โดยมีปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและสถานการณ์มลพิษจากหมอกควันในภูมิภาค ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการพื้นที่พรุอย่างยั่งยืน และเงินทุนระหว่างประเทศจำนวนมากในการร่วมกันขับเคลื่อนและปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป
Share: