"เชื้อเพลิงไฮโดรเจน" อาจไม่ดีจริง ดังที่เคยฝัน

เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ถ้าผลิตและนำมาใช้อย่างเหมาะสม สามารถมีบทบาทอย่างมากในเรื่องพลังงานสะอาด และการลดสภาวะโลกร้อน เพราะสามารถนำมาใช้ทดแทนก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมันได้

ถ้าไฮโดรเจนรวมตัวกับ CO2 หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ก๊าซเรือนกระจกตัวที่สำคัญที่สุด) ที่ตรึงมาได้โดยตรงฟรีๆ จากอากาศ ก็สามารถผลิตเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ รวมทั้งเป็น feed stock ไว้ผลิตสารเคมีและพลาสติกที่เป็นกลางทางคาร์บอนได้อีกด้วย จึงนับเป็นข้อดีซ้อนข้อดีของเชื้อเพลิงไฮโดรเจนนี้

ผมจึงชอบที่จะผลักดันให้สิ่งนี้เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผมได้พบบทความภาษาอังกฤษที่เพื่อนร่วมวิชาชีพแชร์มา ฝรั่งเจ้าของบทความนั้นได้กล่าวเตือนอย่างมีเหตุผลว่าอย่ามองไฮโดรเจนแบบโลกสวยเกินไปนัก ผมจึงอยากนำข้อคิดนี้มาให้รับรู้กัน เพื่อจะได้เตรียมตัวและไม่ถลำกันมากและเร็วเกินไป
 

เชื้อเพลิงไฮโดรเจนมีหลายเกรด มักนิยมเรียกเป็นสี เช่น ไฮโดรเจนเทา น้ำเงิน เขียว เรียงจากความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากน้อยไปหามาก ศ.แอนโทนี แพตต์ เจ้าของบทความภาษาอังกฤษดังกล่าวได้รายงานว่า การนำเชื้อเพลิงไฮโดรเจนมาใช้จริงยังมีความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาอยู่บ้าง ดังนี้

ความเสี่ยงที่ 1 การกักเก็บไฮโดรเจนที่ 1.ต้องใช้พลังงานปริมาณมากมาเพิ่มความดันในถังเก็บหรือลดอุณหภูมิของไฮโดรเจนลง และ 2.โมเลกุลขนาดเล็กมากของไฮโดรเจนสามารถแพร่ผ่านเนื้อวัสดุต่างๆ จึงกักเก็บได้ยาก 

ในปัจจุบันจึงมีแนวคิดที่จะหาวัสดุเล็กมาก ระดับนาโน มาทำเป็น “ภาชนะ” กักเก็บไฮโดรเจน หรือไม่ก็เปลี่ยนไฮโดรเจนให้ไปอยู่ในรูปสารเคมีชนิดอื่นที่กักเก็บได้ง่ายขึ้น แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น การกักเก็บไฮโดรเจน ณ ขณะนี้จึงมีราคาสูง จนไม่นำมาพิจารณาร่วมด้วยไม่ได้


บทความโดย
ศ. ดร.ธงชัย  พรรณสวัสดิ์   อดีตประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

อ่านต่อ


ที่มา กรุงเทพธุรกิจ