ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและหนุนเสริมโครงการนำร่อง (พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครั้งที่ 1

17-20 กรกฎาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและหนุนเสริมโครงการนำร่อง (พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครั้งที่ 1 นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์เอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและหนุนเสริมโครงการนำร่อง (พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครั้งที่ 1 สรุปประเด็นสาระสำคัญได้ดังนี้
  1. จังหวัดหนองคาย (เมืองสระใครและเมืองหนองคาย) ค่อนข้างทำกิจกรรมล่าช้ากว่าแผนงาน เนื่องจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะทำงานหลักของเมือง จึงต้องทำการพูดคุยทำความเข้าใจโครงการฯ ใหม่ พร้อมทั้งหาแนวทางจัดตั้งคณะทำงานใหม่ในพื้นที่เมืองหนองคาย ต้องมีการปรับแผนการทำงานหลักๆ โดยทั้ง 2 พื้นที่ ต้องทำการสร้างเครือข่ายในพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้งภาคประชาสังคม ชาวบ้าน เอกชน และภาครัฐ  เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมที่เป็นเจ้าของปัญหาและแนวทางในการแก้ไขร่วมกันตั้งแต่ต้น  อีกทั้งยังมีการจัดทำข้อมูลฐานชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน ความสัมพันธ์ ต้นทุนต่างๆ ที่มีในพื้นที่  แผนที่เสี่ยง และเชื่อมร้อยเครือข่ายในการทำงานผ่านการเห็นข้อมูลร่วมกัน
  2. จังหวัดอุดรธานี (เมืองหนองสำโรงและเมืองสาวพร้าว) ทำกิจกรรมเป็นไปตามแผนงาน กำลังขยับในเรื่องการเก็บข้อมูลและทำแผนที่เดินดินในชุมชน เริ่มมีการเชื่อมร้อยเครือข่ายในพื้นที่ แต่ยังเน้นที่ อปท.เป็นหลัก  ประเด็นปัญหาเรื่องน้ำเริ่มมองภาพอนาคตในการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ว่าการแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าเชิงโครงสร้างต่างๆ ไม่เพียงพอต่อการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นแล้ว จึงอยากลองใช้แนวทางและทฤษฎี nature base solution มาช่วยในการแก้ปัญหา ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า แผนผังภูมินิเวศ ให้ชุมชนได้เห้นปัญหาร่วมกัน
  3. จังหวัดขอนแก่น (เมืองขอนแก่นและเมืองบ้านไผ่) กิจกรรมเป็นไปตามแผนงาน โดยเน้นสร้างความเข้มแข็งของคนในชุมชน เสริมสร้างศักยภาพคณะทำงานที่เป็นฐานชาวบ้านอย่างแท้จริง เนื่องจากทั้ง 2 พื้นที่ อยู่ในที่ดินการรถไฟและต้อมทำการย้ายออกเป็นที่แน่นอน  การสร้างการยอมรับต่อภาครัฐ การมีอำนาจต่อรอง ออกแบบที่อยู่ในพื้นที่ใหม่ได้ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทางโครงการฯ ต้องการผลักดัน  เพราะในพื้นที่เดิมชาวบ้านไร้ซึ่งสิทธิและการออกแบบวิถีของชุมชน ดังนั้นเมื่อต้องย้ายไปยังพื้นที่ใหม่จึงต้องการได้สิทธิและการยอมรับในการวางแผนจัดการพื้นที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เหลื่อมล้ำ และมีความชัดเจนในการจัดการช่วยเหลือจากภาครัฐ