ประชุมเชิงปฏิบัติการ“ออกแบบแนวทางการจัดทำแผนผังภูมินิเวศสู่การพัฒนาจัดการเมืองสำหรับเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ”และ “การทำแผนที่เดินดินเติมเต็มข้อมูลและสถานการณ์ของเมือง”

4-8 กันยายน 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ประชุมเชิงปฏิบัติการ“ออกแบบแนวทางการจัดทำแผนผังภูมินิเวศสู่การพัฒนาจัดการเมืองสำหรับเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ”และ “การทำแผนที่เดินดินเติมเต็มข้อมูลและสถานการณ์ของเมือง” สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์เอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ“ออกแบบแนวทางการจัดทำแผนผังภูมินิเวศสู่การพัฒนาจัดการเมืองสำหรับเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ” และ “การทำแผนที่เดินดินเติมเต็มข้อมูลและสถานการณ์ของเมือง” โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
  1. วันที่ 4-6 กันยายน 2566 จัดทำแผนที่เดินดิน 3 พื้นที่ ได้แก่ เมืองสระใคร เมืองหนองคาย และเมืองสามพร้าว เพื่อทบทวนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาและเติมเต็มข้อมูลเชิงกายภาพในพื้นที่ทั้งการทำผัง การลงที่ตั้งชุมชน ข้อมูลจุดเสี่ยง ทรัพยากรต่างๆ ทำให้พื้นที่เข้าใจข้อมูลและมองเห็นปัญหาร่วมกันได้ชัดเจนขึ้น
  2. วันที่ 7 กันยายน 2566 อบรมแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้การจัดทำแผนผังภูมินิเวศ แผนผังภูมินิเวศเป็นเครื่องมือสร้างองค์ความรู้ น้ำเป็นกระดูกสันหลังของระบบนิเวศ แผนและผังมันต่างกัน (ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน) ผังชุมชนธรรมนูญชุมชน ฉากทัศน์อนาคต ดูว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ทุก stakeholder ต้องมาทำด้วยกัน ธรรมนูญการผังเมืองชุมชน (ข้อตกลงร่วมกันของชุมชนในการจัดการภายในชุมชน ชุมชนจะมีบทบาทอย่างไร กฎร่วมของสังคม เพื่อใช้ในการต่อรองกับหน่วยงานอื่นๆ ในการจัดการตนเอง) ปัญหา ความท้าทาย แนวทางแก้ไข ภาคประชาสังคมในพื้นที่ต้องรู้จักการทำงานกับ อปท. หน่วยงานต่างๆ อย่าตั้งแง่ใส่กัน ยิ่งมีข้อมูลลึกและละเอียดเท่าไร ทั้งคุณภาพและปริมาณจะยิ่งมีประสิทธิภาพ  ชาวบ้านต้องรู้ตัวเลขข้อมูลงานวิจัย  ถึงจะเท่าทันสถานการณ์ ข้อมูลเชิงกายภาพเป็นแผนที่สะท้อนแผนผังภูมินิเวศ ประเด็นยุทธศาสตร์ต้องชัดเจนไม่งั้นทำงานแก้ปัญหาไม่ถูก
  3. วันที่ 8 กันยายน 2566 ประชุมเข้าพบผู้บริหารราชภัฏอุดรธานีและรองนายกองค์กรบริหารส่วนตำบลบ้านสามพร้าว เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยฯ และชุมชน รับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาแบบไร้ทิศทาง อปท.ที่โตไม่ทันตามเมืองทั้งกฎระเบียบ ศักยภาพของบุคลากร การทำผังภูมินิเวศต้องดึงชาวบ้านเข้ามาร่วมในการทำแผนที่เกิดความร่วมมือและร่วมสะท้อนปัญหาได้ข้อมูลจากชุมชนอย่างแท้จริง  หน่วยงานอื่นๆ มาต้องได้เห็นข้อมูลแบบชัดๆ สำคัญที่ทุกฝ่ายต้องมองว่าเป็นปัญหาร่วม เราจะไม่ผลักภาระให้ใคร มหาลัยคือโอกาสหรือภัยคุกคาม ขึ้นอยู่กับการออกแบบในการพัฒนา เอาความรู้มาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนกันจัดตั้งเป็น “ปฏิญญาสามพร้าว”