เกี่ยวกับเรา

ความเป็นมาของฉลากเขียว

ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และได้รับความเห็นชอบและความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติออกมาเป็นรูปธรรม จึงนับว่าเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างส่วนราชการ และองค์กรกลางต่าง ๆ โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทำหน้าที่เป็นเลขานุการ

ฉลากเขียวเกิดขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานอิสระที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มีความเป็นกลาง เชื่อถือได้ ตลอดจนดูแลควบคุมคุณภาพทางสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นตลอดทั้งวัฎจักรชีวิต อย่างเป็นระบบและโปร่งใส เนื่องจาก สินค้าสีเขียว ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันเกิดจากการประชาสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายโดยอิสระเท่านั้น

 

แนวคิดของฉลากเขียว

  1. ฉลากเขียว เป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดที่ทางคณะกรรมการนโยบายและบริหารงานฉลากเขียวประกาศใช้

  2. เป็นการสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการ ที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

  3. ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภค โดยการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และกระตุ้นให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากขึ้น

  4. กระตุ้นให้กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต หันมาใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

  5. กระตุ้นให้รัฐบาลและเอกชน ร่วมมือกันฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหามลภาวะด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค

วัตถุประสงค์ของฉลากเขียว

วัตถุประสงค์หลักของฉลากเขียว มาจากแนวความคิดและความต้องการให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้

  1. ลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมโดยรวมภายในประเทศ

  2. ให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน

  3. ผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการผลิตที่สะอาด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ทั้งนี้ เพื่อส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว

โครงสร้างคณะกรรมการและคณะทำงานฉลากเขียว

   
ผู้จัดการโครงการ

ผู้แทนฝ่ายบริหาร
จัดการคุณภาพ
   
 
 
กลุ่มงานพัฒนา
ข้อกำหนด
 
กลุ่มงานรับรอง

 
กลุ่มงานการจัดการ
 
             

คณะกรรมการโครงการฉลากเขียว

ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

  • กำกับทิศทางและนโยบายการทำงานฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม
  • อนุมัติให้ใช้หรือแสดงฉลากเขียว และฉลากสิ่งแวดล้อมแก่ผลิตภัณฑ์หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้คัดเลือก
  • พิจารณากำหนดแบบฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการแสดงฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม
  • แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการฉลากเขียวหรือคณะผู้เชี่ยวชาญ

 

คณะกรรมการบริหารโครงการฉลากเขียว

ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้อำนวยการสถาบันฯ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

  • กำหนดนโยบาย แผนงาน กลยุทธ์ในการดำเนินงาน
  • ติดตามความก้าวหน้าในการบริหารจัดการ โครงการฉลากเขียว
  • พิจารณาความเหมาะสมในการจัดหาทรัพยากร รองรับ สนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ
  • เสริมสร้างความร่วมมือในระดับบริหารกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมโครงการ ให้สามารถตอบสนองต่อเป้าประสงค์ ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหลักการของฉลากเขียว
  • พิจารณาคัดเลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อพัฒนาข้อกำหนดฉลากเขียว
  • พิจารณากำหนด อนุมัติใช้ แก้ไข และยกเลิก ข้อกำหนดฉลากเขียว รวมทั้ง
  • ให้คำปรึกษา ชี้แนะ ตลอดจนตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและอายุข้อกำหนด
  • อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายฉลากเขียว รวมถึงการพักใช้ เพิกถอน กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองฉลากเขียว
  • กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นกลางในกิจกรรมการรับรอง โดยมุ่งเน้นความโปร่งใสเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนในกระบวนการรับรอง
  • พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเทคนิคในการพัฒนาข้อกำหนด คณะอนุกรรมการกลั่นกรองการรับรองฉลากเขียวในการอนุมัติให้ใช้เครื่องหมายฉลากเขียวและคณะอนุกรรมการอื่นๆ

 

คณะอนุกรรมการเทคนิค

ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารโครงการฉลากเขียว มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

  • จัดทำร่างข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหารโครงการฉลากเขียว
  • กำหนดเกณฑ์วิธีทดสอบ มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมทางจัดทำรายงาน สรุปความสำคัญ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยลง
  • ประเมินปริมาณการซื้อขายและรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์นั้นในตลาด
  • ดำเนินงานด้านวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

สำนักงานเลขานุการโครงการฉลากเขียว

ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารโครงการฉลากเขียว มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

คณะอนุกรรมการกลั่นกรองการรับรองฉลากเขียว

ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารโครงการฉลากเขียว มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

  • ตัดสินให้การรับรองเครื่องหมายฉลากเขียวครั้งแรก คงไว้ ลด/เพิ่มขอบข่าย พักใช้ เพิกถอน และยกเลิกการรับรอง และการพิจารณาการต่ออายุการรับรอง
  • ทบทวนความถูกต้องของผลการตรวจประเมินสถานประกอบการ และผลการตรวจเฝ้าระวังการรับรองฉลากเขียว
  • พิจารณาผลกระทบต่อความเป็นกลางต่อกิจกรรมการตรวจสอบในสาขาที่เกี่ยวข้อง

 

การดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ

ฉลากเขียว สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1ตามมาตรฐาน ISO 14024 เริ่มดำเนินการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยได้มีการดำเนินการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ฉลากเขียวได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกที่ได้รับรองระบบงาน GENICES ของเครือข่ายฉลากสิ่งแวดล้อมโลก (Global Ecolabelling Network (GEN)) มีสมาชิกที่เป็นหน่วยงานด้านฉลากสิ่งแวดล้อมชนิดที่ 1 จากมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกซึ่งวัตถุประสงค์ร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมสร้างความร่วมมือ ถ่ายทอดความรู้ และพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล (Common Core Criteria (CCC)) ในการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสมาชิก GEN สมาชิกอาจลงนามบันทึกความเข้าใจ(Memorandum of Understanding (MOU)) ร่วมกันเพื่อดำเนินงานร่วมกันระดับองค์กร ในการยอมรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ และผลการทดสอบของผลิตภัณฑ์เดียวกัน

ปัจจุบันฉลากเขียวดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่
1) การลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding  (MOU))

ฉลากเขียว ได้บันทึกความเข้าใจร่วมกับหน่วยงานด้านฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศต่างๆ เพื่อ (1) การรับสมัครขอการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม และ (2) การตรวจประเมินสถานประกอบการ (On-Site Assessment) แทนกัน ของประเทศที่มีความร่วมมือ ปัจจุบันฉลากเขียวได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับหน่วยงานรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลี นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง มาเลเซีย เยอรมนี และอินเดีย


2) การพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล (Common Core Criteria (CCC))

ฉลากเขียวได้มีการพัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตลาด ซึ่งผลิตภัณฑ์บางชนิดถูกนำเข้าหรือส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ดังนั้นฉลากเขียวจึงได้ทำการพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างประเทศ

   

1. เครื่องพิมพ์และเครื่องถ่ายเอกสาร (Printers and Copiers) ลงนามปี 2564
2. เครื่องถ่ายเอกสาร (Copiers) ลงนามเมื่อปี 2559
3. ผลิตภัณฑ์เครื่องฉายดิจิตอล (Digital Projectors) ลงนามเมื่อปี 2560