URBAN CLIMATE RESILIENCE

การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเมืองในประเทศไทย

Watch the video

Story STORY

URBAN CLIMATE RESILIENCE

การพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประเด็นที่มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกัน เมื่อการพัฒนาเมืองทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมนำไปสู่การเปิดรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็สร้างผลกระทบให้เกิดความแปรปรวนและความรุนแรงของภัยพิบัติ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในเขตเมืองย่อมมีแนวโน้มที่จะสร้างความเสียหายรุนแรง และเกิดผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนด้อยโอกาส กลุ่มคนจนและกลุ่มคนเปราะบางในเมือง สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาอาจจะมุ่งเน้นที่การใช้สิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกัน บรรเทา และลดความรุนแรงของภัยพิบัติเหล่านั้น แต่ภัยพิบัติที่คาดการณ์ได้ยาก ทั้งอุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง เป็นเรื่องยากที่สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นจะรองรับปัญหาดังกล่าวได้ จึงต้องมีแนวทางในการเพิ่มศักยภาพของชุมชนเมืองและสร้างความเข้มแข็งด้านการรับมือของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ต้องเป็นแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาเมืองที่มีความเท่าเทียม ครอบคลุมคนทุกระดับชั้นและยั่งยืน

Image

 

 

Event New Event

New Event

Image

15 มิถุนายน 2566 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดยดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา จัดประชุมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการดำเนินโครงการนำร่อง ระหว่างพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการนำร่อง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566-ปัจจุบัน รวมถึงแลกเปลี่ยนแนวทางในการปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินงานให้สอดคล้องกับปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว โดยได้จำแนกประเด็นในการนำเสนอ เป็น 5 ประเด็น ได้แก่ เมืองที่เผชิญกับน้ำท่วม ได้แก่ เมืองสามพร้าวและเมืองหนองสำโรง จ. อุดรธานี และเมืองพะตง จังหวัดสงขลา การบริหารจัดการน้ำของเมือง ได้แก่ เมืองควนลัง และชุมชนโตนดด้วน ความยากจนในเมือง ได้แก่ เมืองขอนแก่น และเมืองบ้านไผ่ การพัฒนาเมืองที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ ได้แก่ เมืองละงู เมืองสระใคร และเมืองหนองคาย (โคกแมงเงา) และ มลพิษทางอากาศ ได้แก่ เมืองปาดังเบซาร์ ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะจากทั้ง 2 ภูมิภาค สำหรับการเรียนเชิญ ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติของโครงการ เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดทำแผนผังภูมินิเวศ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือหลักในการจัดการข้อมูลจากฐานชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการวางแผนเตรียมความพร้อมของเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ

Image

6-9 มิถุนายน 2566 ทีมโครงการ SUCCESS ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและหนุนเสริมโครงการนำร่องฯ พื้นที่ภาคใต้ทั้ง 6 เมือง ในเบื้องต้นทุกทีมได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนงานกิจกรรมและสอดคล้องกับการใช้งบประมาณ กิจกรรมต่อไปคือการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าระหว่างภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในรูปแบบออนไลน์ (Zoom) ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ต่อไป

Image

9 พฤษภาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการดำเนินโครงการนำร่อง SUCCESS Y4 นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) และศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานโครงการนำร่องของทั้งภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเบื้องต้นพบว่าแม้จะมีความล่าช้าในการดำเนินกิจกรรมอยู่บ้างแต่โดยภาพรวมคาดว่าทุกโครงการฯจะดำเนินงานแล้วเสร็จตามแผนการเดิมคือในช่วงเดือนธันวาคม 2566 และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการใช้เครื่องมือแผนผังภูมินิเวศ โดยต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เพิ่มเติม เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ภาครัฐรับฟังและเปลี่ยนมุมมองการทำแผนรับมือจากเดิมที่ใช้โครงสร้างแข็งมาแก้ปัญหา ปรับเป็นการใช้ระบบนิเวศที่มิติด้านสังคมมากขึ้น เชื่อมร้อยการทำงานอย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริงจากชุมชนผู้มีข้อมูลฐานราก เข้มแข็งจัดการตนเองได้ โดยอาศัยกลไกในการทำงานทั้งระดับชุมชนและระดับเมือง

Image

สรุปภาพร่วมการดำเนินกิจกรรมโครงการนำร่อง ในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน 2566 คณะทำงานโครงการนำร่อง (ภาคใต้) ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ได้เริ่มดำเนินกิจกรรมโครงการนำร่อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและแผนการดำเนินงาน รับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้นโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และหลังจากนี้จะมีกิจกรรมต่อเนื่อง โดยการจัดตั้งคณะทำงาน และขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกัน โดยสรุปได้ดังนี้

Image

23 มีนาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปได้จัดการการประชุม (ออนไลน์) เพื่อชี้แจ้งระเบียบการเบิกจ่ายเงินและการบริหารโครงการนำร่อง โดย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) ชี้แจ้งรายละเอียดการบริหารจัดการโครงการนำร่อง แบบฟอร์มทางการเงินและหลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายค่าดำเนินกิจกรรม รูปแบบรายงานรวมถึงกำหนดเวลาในการส่งงานต่างๆ ให้แก่องค์กรดำเนินโครงการนำร่องทั้ง 3 องค์กรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมถึงตัวแทนพื้นที่ในการดำเนินโครงการทั้ง 6 พื้นที่ ได้แก่ มูลนิธิชุมชนอีสาน (สระใคร+โคกแมงเงา) สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น(ชุมชนมิตรภาพ+ชุมชนบ้านไผ่) และสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ(หนองสำโรง+บ้านสามพร้าว) ได้ร่วมกันซักถามและทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินโครงการนำร่องที่เป็นกิจกรรมหลักของโครงการในปีที่ 4 ดำเนินเสร็จสิ้น ลุล่วงไปด้วยดี

URBAN CLIMATE RESILIENCE

การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเมืองในประเทศไทย

Get In Touch

Image
Image
Image
Image
Image
Image

Copyright © All rights reserved | by Thailand Environment Institute Foundation ( TEI )
16/151 Muang Thong Thani, Bond Street, Bangpood, Pakkred, Nonthaburi 11120 THAILAND