SUCCESS

Strengthening urban climate governance for inclusive, resilient, and sustainable societies in Thailand project.

ประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง

Event Event

New Event

Image

27 มิถุนายน 2567 ดร.กฤษฎา บุญชัย Thai Climate Justice for All ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate policy) เพื่อความเป็นธรรมด้านภูมิอากาศ (climate justice)” และดำเนินเวทีเสวนาสำคัญ 2 เวที ที่เน้นหนุนเสริม และตอกย้ำความสำคัญของการเตรียมความพร้อม รับมือ ปรับตัวของชุมชนเมือง จากผลกระทบจากการพัฒนาเมืองที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติผ่านการสนับสนุนจากภาคประชาสังคมและภาควิชาการ ประกอบด้วย เวทีเสวนา “บทบาทของภาคประชาสังคม กับการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเมืองและชุมชน อย่างเป็นธรรม” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบวการณ์ในการทำงานทั้งในภาคส่วนของภาคประชาสังคม ภาควิชาการและสื่อสาธารณะที่ทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย คุณพูนสมบัติ นามหล้า มูลนิธิชุมชนอีสาน คุณบุษกร สุริยสาร ผู้อำนวยการมูลนิธิต้นกล้ารักษ์โลก คุณชาคริต โภชะเรือง ตัวแทนภาคประชาสังคมภาคใต้ คุณณัฐกฤตา อารมณฤทธิ์ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจตลาดรถเขียวเมืองควนลัง หาดใหญ่ สงขลา และอาจารย์สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และ คุณสุมาลี สุวรรณกร ผู้ประสานเครือข่าย Spark U ขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินเวทีเสวนา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเวทีกลางในการดึงทุกภาคส่วนมาร่วมพูดคุยหารือร่วมกัน และประเด็นที่ควรหารือคือการจัดตั้งกองทุนในการพัฒนาพื้นที่เมืองที่มีปัญหา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที เวทีเสวนา “บทบาทภาควิชาการในการสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate adaptation) ด้วยข้อมูลวิทยาศาสตร์ เครื่องมือ และเทคโนโลยี เพื่อหนุนเสริมชุมชนและท้องถิ่น” โดยรศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ศูนย์วิจัยนานาชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ดร.อโศก พลบำรุง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ดร.ศยามล สายยศ กรมโยธาธิการและผังเมือง Dr Han Aarts – Maastricht University และคุณสมภพ วิสุทธิศิริ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก (สงขลา) โดยดร.อนุวัฒน์ พลทิพย์ มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นผู้ดำเนินเวทีเสวนา และร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากผู้แทนของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยรับฟังความสำเร็จจากโครงการของภาควิชาการที่หนุนเสริมระบบเตือนภัยของบ้านไผ่ และแลกเปลี่ยนตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นของข้อมูลพื้นฐาน กลไก และกระบวนการในการสร้างความร่วมมือของภาควิชาการเนื่องจากการพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจำเป็นต้องใช้ภาควิชาการหลากหลายสาขามาร่วมบูรณาการความร่วมมือเพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจ ตระหนัก ต่อสถานการณ์ได้อย่างครอบคลุมครบทุกมิติยิ่งขึ้น โดยในที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า หน่วยงานส่วนกลางที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กฎหมาย พรบ. เทศบัญญัติ หรือธรรมนูญจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจำเป็นต้องพิจารณามิติด้านสังคมควบคู่กันไปด้วย และต้องปรับตัวให้อยู่บนฐานระบบนิเวศที่เอื้อและเกื้อหนุนสิ่งมีชีวิต และให้ความสำคัญถึงความเป็นธรรมด้านภูมิอากาศสำหรับกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้หญิง กลุ่มชาติพันธุ์ ให้มากที่สุด อีกทั้งต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลพื้นฐาน กลไก และกระบวนการและเวทีกลางในการสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วน เนื่องจากการพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจำเป็นต้องใช้ความรู้ ความสามารถ จากหลากหลายสาขามาร่วมบูรณาการความร่วมมือเพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจ ตระหนัก ต่อสถานการณ์ได้อย่างครอบคลุมครบทุกมิติ และที่สำคัญการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเข้มแข็งและความร่วมมือของท้องที่ท้องถิ่น จะสามารถนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งและเตรียมความพร้อมของทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม เท่าเทียม และเป็นธรรมได้อย่างแน่นอน

Image

26 มิถุนายน 2567 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดยดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และคณะทำงานโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป นำภาคีเครือข่ายภายใต้โครงการ ได้แก่คณะทำงานโครงการนำร่อง หน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคเอกชน และสื่อสาธารณะ ลงพื้นที่เมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เรียนรู้การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ในการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการจัดการและแก้ปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังได้รับบทเรียนภัยพิบัติจากพายุโพดุล ปี 2562 ที่สร้างความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท อีกทั้งยังถูกขับเคลื่อนให้เป็นศูนย์รวมของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟรางคู่ และสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง โดยได้ร่วมรับฟัง “นโยบาย แผนพัฒนาเทศบาลเมืองบ้านไผ่” ที่เสริมสร้างการเตรียมพร้อมรับมือภัย โดย คุณประเสริฐ พงษ์ธีรมิตร นายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ และทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่บ้านไผ่ โดยผู้แทนบริษัทไทยไปป์ไลน์ เน็ตเวิร์ค จำกัด รวมถึงร่วมลงสำรวจชุมชน ที่ชุมชนหมู่ 1 พัฒนา และชุมชนสุมนามัย สำรวจสภาพปัญหาพื้นที่ แนวทางในการแก้ไข ป้องกัน และเตรียมรับมือของชุมชน และสำรวจพื้นที่ ‘บ้านมั่นคง สหกรณ์เคหสถาน 4 ชุมชนเมืองไผ่’ (บ้านหนองน้ำใส) ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการย้ายที่อยู่อาศัยของชุมชนในเมืองบ้านไผ่ ผ่านการสนับสนุนของคณะกรรมการร่วมพัฒนาอำเภอบ้านไผ่ (กรอ.) และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)

Image

25 มิถุนายน 2567 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI นำโดยดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการโครงการ และโครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการโครงการร่วมกับ ศ. ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ คุณชาคริต โภชะเรือง มูลนิธิชุมชนสงขลา Dr.Aarts Han Maastricht University และคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ ได้แก่ ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ และรศ. ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ได้ร่วมจัดประชุม “เมือง(ไม่)รู้ร้อนรู้หนาว กับ ชุนชนเมือง ในยุคโลกเดือด” แนวทางนำสู่ การเตรียมความพร้อม รับมือ ปรับตัว อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม (People-centred urban climate resilience and adaptation) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการบูรณาการแนวปฏิบัติและแนวทางในการจัดการผลกระทบ ความเปราะบาง และการรับมือเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการพัฒนาเมืองและสังคมที่เป็นธรรม เข้าสู่การวางแผนระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด และระดับชาติ โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และสื่อสาธารณะ รวมถึงคณะทำงานโครงการนำร่อง 12 พื้นที่ศึกษาใน 2 ภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคใต้ จำนวน 6 เมือง ได้แก่ เมืองควนลัง เมืองพะตง เมืองบ่อยาง เมืองปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา เมืองโตนดด้วน จังหวัดพัทลุง เมืองละงู จังหวัดสตูล และภาคอีสาน จำนวน 6 เมือง ได้แก่ เมืองขอนแก่น เมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เมืองหนองสำโรง เมืองสามพร้าว จังหวัดอุดรธานี เมืองสระใคร และเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 25 มิถุนายน 2567 ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยบรรยายพิเศษหัวข้อ “มุมมองสถานการณ์ระดับประเทศ – การเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย” โดยตอกย้ำวการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติของโลกที่เกินขีดจำกัดในปัจจุบัน นำมาซึ่งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมนุษยชาติ หากทุกภาคส่วนไม่ร่วมกันแก้ไขอย่างจริงจัง ในอีก 10 ปีข้างหน้าโลกเราจะเผชิญกับความเสี่ยงที่ร้ายแรงที่สุด 4 อันดับคือ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งจากความล้มเหลวในการลดก๊าซเรือนกระจก ความล้มเหลวในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติและสภาพอากาศสุดขั้ว รวมถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการล่มสลายของระบบนิเวศ นอกจากนี้ยังได้ให้มุมมองภาพรวมการเดินหน้าของประเทศไทยในการเตรียมพร้อม ทั้งการประกาศเจตนารมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065 มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ 40% ภายในปี 2030 รวมถึงการจัดตั้งกรมโลกร้อน หรือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศไทยมีหน่วยรองรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจน ท้ายสุดได้เน้นย้ำความสำคัญของการแก้ปัญหาโดยใช้ระบบนิเวศเป็นฐาน และสำหรับประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน จำเป็นต้องดำเนินการต่อเพื่อให้เกิดสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนี้ทางดร.วิจารย์ สิมาฉายา ยังได้เป็นตัวแทนในการส่งมอบข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อนำสู่ปฏิบัติการเตรียมความพร้อม ปรับตัว รับมือ ของชุมชนและเมือง ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม โดยประชาชนและระบบนิเวศเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้จากการดำเนินโครงการ “ประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง” สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป เพื่อแสดงเจตนารมณ์ความร่วมมือในการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งเพื่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนยากจน กลุ่มคนเปราะบางและกลุ่มผู้หญิง เพื่อให้นำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาเมืองอย่างครอบคลุมคนทุกระดับอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน รวมถึงการสนับสนุนความเป็นผู้นำให้กับภาคประชาสังคมท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ และเป็นการพัฒนายุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของเมืองและแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศโดยชุมชน สำหรับวันนี้ ประกอบด้วย 2 เวทีเสวนาสำคัญ ที่เน้นหนุนเสริม และตอกย้ำความสำคัญของการเตรียมความพร้อม รับมือ ปรับตัวของชุมชนเมือง จากผลกระทบจากการพัฒนาเมืองที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ประกอบด้วย เวทีเสวนา “ความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ให้ความสำคัญกับ “คน” เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน” โดยร่วมสะท้อนมุมมองมิติทางสังคมในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ขาดหายไป และมุมมองของความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ให้ความสำคัญกับ “คน และ ชุมชน” เป็นศูนย์กลาง โดยเกริ่นนำประเด็น มิติทางสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยคุณสมถวิล พิมพิทักษ์ ตัวแทนชุมชน คุณปิยนันท์ ผิวนวล ตัวแทนชุมชนบ่อยาง คุณเกศินี แกว่นแก้ว มูลนิธิการพัฒนาที่ยั่งยืน (เพศ/บทบาทสตรี) คุณสาคร สงมา Climate Watch Thailand (ชุมชนเกษตรกร) และดร.อภิสม อินทรลาวัณย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (ชุมชนริมโขง) โดยผู้ดำเนินเวทีเสวนา ได้แก่นายทนงศักดิ์ จันทร์ทอง มูลนิธิท้องถิ่นพัฒนา และ Thai Climate Justice for All ทั้งนี้ได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางและความท้าทายในการสนับสนุนชุมชนเปราะบางจาก กองพัฒนานโยบายและนวัตกรรมทางสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย เทศบาลนครขอนแก่น และสื่อสาธารณะ City Cracker เวทีเสวนา “เมืองกับการปรับตัว (climate adaptation)” และ “การปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศเป็นฐาน (ecosystem-based adaptation)” เพื่อร่วมเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเมือง และความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมืองยิ่งโตเร็วยิ่งเปราะบาง และจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัว และต้องปรับตัวให้อยู่บนฐานระบบนิเวศที่เอื้อและเกื้อหนุนสิ่งมีชีวิต ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย คุณรัชณี บุญสกันท์ แกนนำโครงการนำร่องเมืองพะตง คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง แกนนำโครงการนำร่องเมืองละงู ดร.ดนัย ทายตะคุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.พิชัย เอื้อมธุรพจน์ กลุ่มมาดีอีสาน ผศ.ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ดำเนินเวทีเสวนา อาจารย์พูนสมบัติ นามหล้า มูลนิธิชุมชนอีสาน และร่วมแลกเปลี่ยน แนวทางพัฒนาเมืองที่สร้างความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ Thai PBS โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดขอนแก่น สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 6 ขอนแก่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง

Image

โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป โดยความร่วมมือกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับมูลนิธิชุมชนอีสาน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (SLD) ภาคอีสาน ประชุมหารือเชิงนโยบาย (Policy dialogues) เพื่อเตรียมความพร้อมของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคอีสาน ในวันที่ 25-26 เม.ย. 67 กิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง หัวหน้าโครงการ SUCCESS อีสาน กล่าวถึงความสำคัญเตรียมความพร้อมของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งโครงการฯ ขับเคลื่อนกิจกรรมมาแล้วกว่า 4 ปี จึงแห็นความสำคัญในการพัฒนายุทธศาสตร์ ข้อเสนอเชิงนโยบายสำคัญๆ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วม ผ่านเวทีการนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนเติมเต็ม หาแนวทางร่วมกัน และมีบรรยายนำหัวข้อ “ความท้าทายด้านนโยบาย/แผนงาน/แนวทางและศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต” โดย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี การหารือเชิงนโยบาย (Policy dialogues) โดย อาจารย์พูลสมบัติ นามหล้า ประธานมูลนิธิชุมชนอีสาน และอาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ พลทิพย์ มหาวิทยาลัยนครพนม วิทยากรกระบวนการ โดย คณะทำงาน/แกนนำพื้นที่ นำเสนอบทเรียนจากการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และกิจกรรม และมีการตอบสนอง/เสียงสะท้อน ของหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีการทบทวนข้อเสนอเชิงนโยบายฯ(ที่ปรับปรุงแล้ว) เพื่อนำไปสู่กระบวนการนำเสนอหรือขับเคลื่อนต่อไป เวทีเสวนาภาคีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเมือง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สรุปได้ดังนี้ พรบ.ผังเมือง พ.ศ.2562 กำหนดให้บทบาท อปท.ร่วมกับ ผังเมืองมีบทบาทในการจัดทำผังเมืองรวม โดยมีการมีส่วนร่วมประชาชน แต่การจัดทำมีหมายขั้นตอน แต่มีข้อจำกัดเรื่องความความรู้เรื่องผังเมือง ของท้องถิ่น ที่จะต้องช่วยกันพัฒนาต่อ ผังเมืองเป็นเรื่องของทุกคน ดังนั้นยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายเตรียมความพร้อมของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงควรเริ่มจากพื้นที่ด้วย มีข้อตกลงร่วมกันที่จะปรับตัวหรือแก้ไขปัญหา ร่วมกับนโยบายระดับต่างๆ ท้องถิ่นพร้อมในการจัดการแก้ไขปัญหาประชาชน โดยหากเรื่องผังเมืองมีการทำให้ชัดเจนหรือสะดวก หรือง่ายมากขึ้น ท้องถิ่นพร้อมขับเคลื่อนต่อ ผศ. ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ที่ปรึกษาโครงการฯ ระดับชาติ (National Advisory Committee ) สรุปและปิดการประชุมฯ ข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ที่เกิดจาการหารือเชิงนโยบาย (Policy dialogues) ถือว่าได้ข้อมูลสำคัญที่ควรนำไปขับเคลื่อนต่อ โดยเสนอแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ส่งถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดให้เกิดการรับทราบและติดตามข้อเสนอฯ อีกแนวทางคือผลักดันให้เกิดวงหรือเวทีพูดคุย ร่วมกับผู้มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับหน่วยงาน ระดับจังหวัด จึงจะนำไปสู่การผลักดันและต่อยอดต่อไป

Image

โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลและประเมินยุทธศาสตร์โครงการนำร่อง ภาคอีสาน วันที่ 4 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุมแกรนด์พาวิลเลี่ยน โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สรุปสาระสำคัญกิจกรรมได้ดังนี้ วันที่ 4 เมษายน 2567 วันแรกเน้นกิจกรรมบรรยายพิเศษให้ความรู้โยวิทยากรจากรมโยธาธิการและผังเมือง ทบทวน & วิเคราะห์งานช่วงที่ผ่านมา บรรยายพิเศษ “ ทิศทางและนโยบายการผังเมืองของประเทศ” โดย ดร.รัฐติการ คำบุศย์ กรมโยธาธิการและผังเมือง ทบทวน & วิเคราะห์งานช่วงที่ผ่านมา โดยการระดมสมองในกลุ่มผ่านประเด็นคำถาม ปัญหาของเมืองที่ผ่านมาและกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันคือเรื่องอะไรบ้าง/เป็นอย่างไร ในช่วงที่ผ่านมาทางกลุ่มได้ทำกิจกรรมอะไรมาบ้างเพื่อแก้ไขปัญหาของเมือง บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนงานหรือการทำกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมามีอะไรบ้าง/อย่างไร ระดมสมองร่วมกันวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ของเมืองก่อนนำเสนอ ผ่านประเด็นคำถาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง ที่เลือกขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของเมืองเป็น “วาระร่วม” ของคนเมืองนั้น ๆ หรือไม่ อย่างไร กิจกรรมที่มีการออกแบบหรือกำหนดขึ้นมาช่วยแก้ไขปัญหาของเมืองได้เพียงใด ประเมินจากอะไร ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองที่ใช้ในปัจจุบันมีความครอบคลุมหรือเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาของเมืองได้หรือไม่ และในอนาคตจะมีการสานต่อหรือปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองให้เกิดความต่อเนื่องหรือยั่งยืนได้อย่างไร วันที่ 5 เมษายน 2567 แต่ละทีมร่วมกันประเมินยุทธศาสตร์ของเมืองและสะท้อนการทำงานที่ผ่านมา โดยการให้คะแนน 1-10 ผ่านคำถาม 8 คำถาม ดังนี้ การสำรวจ/วิเคราะห์และนำใช้ข้อมูลในการทำงาน การมีส่วนร่วมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของภาคีหน่วยงาน/องค์กร การกำหนดแผนและกิจกรรมหลักเพื่อแก้ไขปัญหาเมือง การมีส่วนร่วมของชุมชน การติดตามและสนับสนุนการทำงาน การยกระดับและความเข้มแข็งของทีมทำงาน การรับประโยชน์ของกลุ่มเปราะบาง/กลุ่มชายขอบ ฯลฯ การบรรลุยุทธศาสตร์ในภาพรวม เมื่อแต่ละคนในทีมให้คะแนนเสร็จแล้ว นำคะแนนมาร่วมกันเพื่อหาค่าเฉลี่ยและลงคะแนนเผนผังเครือข่ายแมงมุม วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองในระยะต่อไป ติดตามภาพบรรยากาศ Hight Light ได้ในลิงค์ https://csnm.kku.ac.th/archives/1506?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR2njGhsU_QXANOSyRtfjpoJvmrf0nQkd9IkY0vITcLVHGeE-_b4SXsimE8_aem_AZMkSS5w5MtBrnSLT8nLbrAaM4uvxULU84I5uJuTBReaeADthk7NAe4TQsWdmOPsNtGG6x1sD_Uvw1OswdbxDlxd

Image

โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสะท้อนผลที่ได้จากการดำเนินโครงการนำร่อง วันที่ 28-29 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมเบญจพร แกรนด์ วิว จังหวัดสงขลา วันที่ 28 มีนาคม 2567 มีกิจกรรมน่าสนใจ ดังนี้ ภาพรวมโครงการ SUCCESS ภาคใต้โครงการ โดยคุณชาคริต โภชะเรือง มูลนิธิชุมชนสงขลา นำเสนอภาพรวมการดำเนินงานด้านการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด โดยคุณนำจิตร จันทร์หอม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.สงขลา นำเสนอบทเรียน เมือง ทำไมต้องปรับตัว ทำไมชุมชนเมืองต้องเตรียมตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เมือง กับปัญหาด้านน้ำ ฟังบทเรียนและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเมืองพะตง โดยคุณรัชณี บุญสกันท์ เมืองควนลัง โดยคุณณัฐกฤตา อารมณฤทธิ์ เมือง กับปัญหาสุขภาวะ ที่อยู่อาศัย มลพิษ ฟังบทเรียนและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเมืองบ่อยาง โดยคุณปิยะนันต์ แสงจันทร์ศิริ เมืองปาดังเบซาร์ โดยนายอรรตพล วิชิตพงษ์ เมืองต้องโตด้วยระบบนิเวศ รักษาแหล่งน้ำ ฟังบทเรียนและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเมืองโตนดด้วน โดย คุณอุไร เกื้อทวี เมืองละงู โดยคุณวิรัช โอมณี รับชมถ่ายทอดสดกิจกรรมย้อนหลังได้ที่ ช่วงเช้าได้ที่ https://fb.watch/r6tJ4eBB2K/ ช่วงบ่ายได้ที่ https://fb.watch/r6u5OStRW6/ วันที่ 29 มีนาคม 2567 ชมถ่ายทอดสดย้อนหลัง กิจกรรมน่าสนใจ แนะนำ ศูนย์วิจัยภัยพิบัติฯ ม.อ และเปิดการประชุมโดยคุณฐิตินันท์ อินทนู บรรยายพิเศษ "ชุมชน-ท้องถิ่น-ภาคประชาสังคม-ภาควิชาการ-เอกชน ขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมืองสู่อนาคต ที่สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ เวทีเสวนา: “แนวทางการสนับสนุนและขับเคลื่อนการวางแผนระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความเปราะบาง การปรับตัว และการเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการพัฒนาเมืองและสังคม เข้าสู่แผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” คุณรสริน อมรพิทักษ์พันธ์ ผู้แทนกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ดร.รัฐติการ คำบุศย์ ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง คุณสมภพ วิสุทธิศิริ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก คุณจรัญญา พิชัยกานิชสิน สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการที่ 11 ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ มูลนิธิ SCCCRN ผู้ดำเนินรายการ คุณบัญชร วิเชียรศรี สถานีวิทยุ มอ.หาดใหญ่ บรรยายพิเศษ "แนวทางการปรับตัวของชุมชนชายฝั่ง โดยใช้มาตรการชั่วคราว กรณีชุมชนม่วงงาม" โดย คุณอภิศักดิ์ ทัศนี กลุ่ม Beach for Life ระดมสมอง ให้ข้อเสนอแนะ ต่อ แนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate adaptation) บริบทภาคใต้ แนวทางการขับเคลื่อนสู่สาธารณะ สรุปประเด็นสำคัญ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการขับเคลื่อน โดย รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา รับชมถ่ายทอดสดกิจกรรมย้อนหลังได้ที่ ช่วงเช้าได้ที่ https://fb.watch/r6syAHtJMU/ ช่วงบ่ายได้ที่ https://fb.watch/r6sJly8B0b/

Image

โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสะท้อนผลที่ได้จากการดำเนินโครงการนำร่อง วันที่ 2-3 มีนาคม 2567เวลา 9.30-16.00 น. ณ ห้องการ์เดนท์วิว ชั้น 2 โรงแรมเซาเทริ์นแอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ วันที่ 2 มีนาคม 2567 วันแรกเน้นกิจกรรมสรุปผลลัพธ์โครงการนำร่อง 6 เมืองภาคใต้ภายใต้งานโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง ผ่านกระบวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทบทวนการดำเนินงานภายในทีม จากคำถาม โครงการนำร่องบรรลุผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่อย่างไร วัดจากอะไร โครงการนำร่องลดความเปราะบางของชุมชนและเมืองได้อย่างไรบ้าง รูปธรรมความสำเร็จที่สุดของโครงการคืออะไร น่าสนใจอย่างไร สิ่งที่ยังทำไม่ได้และต้องทำต่อไปคืออะไร ให้ใครทำ...ทำเอง หรือหน่วยงานใดทำบ้าง และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้กับหน่วยงานอะไร อย่างไร วันที่ 3 มีนาคม 2567 กิจกรรมวันที่สองของเน้นประสานหน่วยงานภาคีความร่วมมือมารับฟังผลการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้ ต้องมีวงเรียนรู้ในการบริหารจัดการน้ำของชุมชนเป็นทางออกสำคัญ และการสร้างความมั่นด้านน้ำในระดับครัวเรือนการรื้อฟื้นระบบบ่อน้ำตื่นที่มีอยู่แล้วให้พอใช้ที่ยังไม่มีทำอย่างไรให้มีเพื่อวางแผนการใช้น้ำในฤดูแล้ง การรวมตัวของภาคประชาชนที่จะสร้างการทำงานร่วมกับท้องที่ท้องถิ่นเพื่อสร้างการบริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน ต้องมีกระบวนการในการจัดการแหล่งน้ำ การบำบัดและการใช้อย่างถูกวิธี กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเกษตร ในพื้นที่โตนดด้วนและควนลังจะมีการเข้าไปช่วยในการรวมกลุ่ม โดยใช้โมเดลในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้าไปส่งเสริมพัฒนา การฟื้นฟูบ่อน้ำตื้นเป็นสิ่งที่ควรทำในทุกๆ บ้าน ปัญหาการจัดการขยะตามแม่น้ำลำคลอง ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก การทำงานร่วมกับชุมชนคือการสร้างเป็นเครือข่ายเพื่อพยากรณ์อากาศ แต่มีข้อจำกัดคือบางพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถใช้เป็น โดยต้องมีการศึกษาร่วมกันผ่านไลน์ โดยให้ลูกหลานของเกษตรกรมาฝึกอบรมร่วมกัน การเรียนรู้ข้อมูลจากอุตุนำมาใช้ในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต้องสร้างความร่วมมือกับเกษตรในการออกแบบการทำงาน ส่วนประมงก็ต้องมีข้อมูลเพื่อการพยากรณ์อากาศ เปลี่ยนตามที่ชุมชนต้องการ แต่ละปีจะมีการประเมินเพื่อปรับปรุงการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพื้นที่ภาคใต้ มีหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนว่าหน่วยงานรัฐมีการตรวจสอบช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับการละเมิดสิทธิ การขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ต้องเกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ ต้องไม่เลือกปฏิบัติหรือเป็นประโยชน์กับใครคนใดกลุ่มหนึ่ง สิ่งที่ทำคือประเด็นสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและการขจัดความรุนแรงในครอบครัว ในส่วนที่จะร่วมได้คือเป็นสำนักภูมิภาคแห่งแรกในกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนจะมีทั้งส่วนกลางและพื้นที่ และมีบทบาทในการให้ข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อให้หน่วยงานแก้ปัญหาในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบหรือได้รับการละเมิดสิทธิมนุษยชน นำข้อเสนอนโยบายต่อรัฐมนตรีเพื่อแก้ปัญหาเชิงระบบ รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิสามารถประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือแลกเปลี่ยนได้ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนาย์จังหวัดสงขลา การทำงานผ่านกระบวนการเชิงนโยบายถึงจังหวัดและชุมชนมีกลไกที่เป็นการทำงานในการปฏิบัติ การติดตาม การจัดการองค์ความรู้สาธารณะ การทำงานร่วมกับภาคีต่างๆ เป็นการทำงานที่เป็นหุ้นส่วนทางสังคม โดยพม ขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นกระบวนการทุกมิติทางสังคม เติมเต็มและเน้นหนักในเรื่องของที่อยู่อาศัย พม.ทุกจังหวัดมีพันธกิจในเรื่องการช่วยเหลือผู้เปราะบางและเรื่องที่อยู่อาศัยเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำนักงานส่งเสริมการเกษตรที่ 5 สงขลา มีระบบการส่งเสริมเกษตรเชิงพื้นที่ จัดให้ตามความต้องการโดยมีศูนย์ปฏิบัติการในพื้นที่หรือผ่านผู้จัดการในพื้นที่ ภารกิจหนึ่งในการทำงานร่วมกับ ศูนย์บริการเทคโนโลยีระบบเกษตรที่ถ่ายโอนให้อปท.ซึ่งโครงสร้างมีผู้บริหารของท้องถิ่นเป็นประธาน มีเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลเป็นเลขาของศูนย์ หากท้องถิ่นฟื้นศูนย์ฯนี้จะมีเจ้าหน้าที่ในการดูแล ในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน มีศจต.เป็นกลไกที่สร้างหมอพืชตำบลหมอพืชชุมชนเป็นหน่วยงานเบื้องต้นในการขับเคลื่อน และจังหวัดมีศูนย์อารักขาพืช มีศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านการอารักขาพืช และการแก้ปัญหาในเรื่อง PM 2.5 ลดการเผาในพื้นที่ลดให้ได้ 50 % จากปีที่แล้วและต่อถัดๆไป ปภ. สงขลา สิ่งที่จะทำร่วมกันได้ในการจัดทำแผนผังภูมินิเวศ ในเรื่องของการจัดทำแผนรับมือเส้นทางน้ำ แผนบริหารจัดการน้ำ แต่ละจังหวัดมีปภ แต่ละพื้นที่ ปภ สามารถบูรณาการ และมีแผนชุมชนในการป้องกันภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีการทำเส้นทางน้ำ พื้นที่อพยพ พื้นที่บ่อยางในการเสริมสร้างองค์กรชุมชนเข้มแข็งมีตัวชี้วัดที่น่าสนใจคือการเพิ่มศักยภาพโดยใช้ตัวชี้วัดตามกรอบการลดความเสี่ยงระดับโลก เพิ่มจำนวนผู้คนที่ได้รับผลกระทบ ได้รับบาดเจ็บจากภัยพิบัติ เมืองควนลังที่จะมีแผนบริหารจัดการน้ำ ควรเปลี่ยนชื่อให้เป็นภาพใหญ่ใช้ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแนวสนับสนุนและใช้งบทั้งพื้นที่และงบฟังชั่น ปภ. มีงบป้องกันยับยั้งเพื่อป้องกันการเกิดภัย ซึ่งสามารถบูรณาการโครงการในการพัฒนาแหล่งน้ำ ฝายหรือสิ่งก่อสร้างที่ป้องกันได้ ศูนย์วิจัย มอ. มีภาคีเครือข่ายต่างๆ ทำงานร่วมกันมากกว่า 10 ปี งานวิจัยส่วนใหญ่ทำในพื้นที่ภาคใต้ ศูนย์สามารถสนับสนุนในเรื่องขององค์ความรู้ งานวิจัยต่างๆ เพื่อใช้ในการเตรียมรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Image

ประชุมสรุปการดำเนินงานโครงการนำร่องปีที่ 4 ร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ และรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนโครงการปีที่ 5 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ผ่านระบบ Zoom Meeting โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงาร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (CSNM) และตัวแทนแกนนำทีมโครงการนำร่องทั้ง 7 โครงการ จัดประชุมนำเสนอสรุปผลการดำเนินโครงการนำร่อง โดยเน้นการนำเสนอการสังเคราะห์ผลผลิต ผลลัพธ์ และสะท้อนภาพรวมช่องว่างและอุปสรรค รวมถึงการต่อยอดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายในแต่ละพื้นที่ พร้อมกับนำเสนอ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และร่วมรับฟังข้อเสนอแนะในการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ เพื่อนำไปสู่แนวทางการปรับแผนยุทธศาสตร์ให้มีความครอบคลุม เหมาะสม และสอดคล้องตามเป้าหมายของโครงการ โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ (NAC) ประกอบด้วย ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์, ศ.สุริชัย หวันแก้ว และ ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง สรุปประเด็นข้อเสนอแนะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนขับเคลื่อนโครงการและการผลักดันแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้โครงการนำร่องประสบความสำเร็จได้ดังนี้ แต่ละโครงการนำร่องต้องให้ความสำคัญ ทำให้ชัดเจนและตรงประเด็น คือ โครงการทำไปแล้ว มีผลลัพธ์ที่เป็นความภาคภูมิใจคืออะไรบ้าง สิ่งใดจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง แก้ไข และสิ่งที่ต้องการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยกระดับเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องหาประเด็น Entry Point ที่มีความเฉียบคมและชัดเจน เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านมโนทัศน์ของผู้บริหารเมืองให้ได้ จึงจะขับเคลื่อนให้เกิดการผลักดันแผนรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่แผนของท้องถิ่นได้ จุดเด่นของโครงการ SUCCESS คือ ข้อมูลระดับครัวเรือน ชุมชน ตำบล ลุ่มน้ำ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเอง เป็นข้อมูลเชิงลึกและเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งสำคัญต่อการนำไปใช้ในการตัดสินใจวางแผนของภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ดังนั้นประเด็นเรื่องการแบ่งปันข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้นั้นเป็นโจทย์ที่สำคัญของแต่ละโครงการ รวมถึงต้องคำนึงถึงการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ และช่องทางในการแบ่งปันข้อมูลเพื่อให้ทุกคน ทุกหน่วยงาน สามารถเข้าถึงข้อมูล นำไปสู่การตัดสินใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเมืองไปในทางที่ดีขึ้นได้ ความสำเร็จของการดำเนินโครงการสามารถวัดการประสบความสำเร็จได้จากการเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหารเมือง เปลี่ยนความเชื่อ เปลี่ยนการยอมรับข้อมูลเชิงลึก (หรือการเปลี่ยน Theory of Change) การสร้างการเรียนรู้ใหม่ของสังคมไทย อาจะต้องมองเรื่องการยกระดับการทำงานเพื่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับเครื่องมือที่ทุกคนสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ต่างไปจากเดิม การสร้างการเมืองใหม่คือการเมืองที่ตัดสินใจเชิงสาธารณะมากขึ้นซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาได้อย่างเท่าเทียม

Image

22 มกราคม 2567 โครงการ SUCCESS สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดยดร.ผกามาศ ได้ร่วมหารือวางแผนการดำเนินงานโครงการ SUCCESS ปี 5 (ปีสุดท้าย) ของภาคใต้ ร่วมกับ SCF โดยสะท้อนการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมถึงหารือเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมและกำหนดวันเพื่อจัดประชุมปรับแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกับผลการดำเนินโครงการนำร่องของภาคใต้ และเตรียมวางแผนและร่างกำหนดการเพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของภาคใต้ โดยให้มีผู้เข้าร่วมระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และระดับนโยบาย รวมถึงแจ้งกำหนดการในการจัดกิจกรรมใหญ่เพื่อปิดโครงการในเดือนมิถุนายน 2567 ที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อเตรียมการวางแผนล่วงหน้าและแจ้งแกนนำโครงการนำร่องในพื้นที่เพื่อเดินทางเข้าร่วมประชุม

Image

17 มกราคม 2567 โครงการ SUCCESS สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดยดร.ผกามาศ ได้ร่วมหารือวางแผนการดำเนินงานโครงการ SUCCESS ปี 5 (ปีสุดท้าย) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ CSNM โดยหารือการจัดกิจกรรมที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การปรับแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้มีความครอบคลุม เหมาะสมและสอดคล้องตามเป้าหมายของโครงการ รวมถึงผลผลิตเพื่อการสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับ และหารือการเตรียมวางแผนกำหนดวันจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้มีผู้เข้าร่วมทั้งในระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และระดับนโยบาย รวมถึงแจ้งกำหนดการในการจัดกิจกรรมใหญ่เพื่อปิดโครงการในเดือนมิถุนายน 2567 ที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อวางแผนจัดประชุมร่วมกับทางโครงการต่อไป

Image

17 มกราคม 2567 โครงการ SUCCESS สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับทีม SCF และ CSNM ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่ โดยมีประเด็นร่วมแลกเปลี่ยน ได้แก่ สถานการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่ ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการนำร่องเกี่ยวกับ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งหารือภาพรวมกิจกรรมของโครงการ SUCCESS ปีที่ 5 (ปีสุดท้าย) โดยกิจกรรมหลักได้แก่ กิจกรรมการปรับยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของเมืองและแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศโดยชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งอาศัยผลการศึกษาจากโครงการนำร่องของแต่ละทีม กิจกรรมการทบทวนและสะท้อนบทเรียนที่ได้จากโครงการนำร่องซึ่งจะจัดแยกภาคใต้และภาคอีสาน รวมถึงการเตรียมวางแผนการจัดทำสื่อภายใต้โครงการผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ สิ่งตีพิมพ์ วีดีโอ เป็นต้น รวมถึงหารือการนัดวันในการจัดกิจกรรมการประชุมใหญ่เพื่อปิดโครงการที่จะจัดขึ้นในจังหวัดอุดรธานี โดยจะมีการนัดประชุมหารือเพิ่มเติมลงรายละเอียดกิจกรรมแยกตามแต่ละภูมิภาคอีกครั้งตามบริบทการดำเนินงานที่ผ่านมา

Image

18 ธันวาคม 2566 โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการโครงการฯ และทีมงาน ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าโครงการนำร่องฯ พื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปประเด็นสาระสำคัญได้ดังนี้ ช่วงเช้า 09.30-12.00 น. ROM meeting พูดคุยติดตามประเมินผลโครงการ SUCCESS จากหน่วยงานที่ติดตามประเมินผลฯ จาก EU มีการซักถามเรื่องความเป็นมาโครงการฯ ตั้งแต่การเริ่มพูดคุยกับภาคีของภาคใต้และภาคตะวันออกฉียงเหนือ ตัวแทน CSOs ในพื้นที่ กรอบการดำเนินโครงการ (log frame) และการดำเนินโครงการนำร่องฯ ปัญหา อุปสรรค ต่างๆ ในการดำเนินโครงการฯ ช่วงบ่าย 14.00-16.00 น. ลงพื้นที่บ้านไผ่ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินโครงการนำร่องฯ โดยประสบปัญหาจากพายุโซนร้อนโพดุลในปี 2562 และไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐ เนื่องจากอยู่ในสถานะผู้บุกรุกที่ดินการรถไฟทั้งหมด 6 ชุมชน จากปัญหานี้นำมาการพูดคุยเพื่อเข้ากระบวนการเช่าที่ดินรถไฟร่วมกับ พอช. แต่ด้วยนโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เกิดเป็นรถไฟรางคู่ ชุมทางรถไฟความเร็วสูง ทั้ง 6 ชุมชนต้องทำการย้ายออกจากพื้นที่ทั้งหมด กว่า 500 ครัวเรือน แต่ทาง กรอ. พอช. และกลุ่มคณะกรรมการชุมชนพยายามหาทางออก โดยการจัดตั้งเป็นสหกรณ์บ้านมั่นคงฯ ให้กลุ่มสมาชิกออมทรัพย์ แล้วผ่อนค่าบ้าน มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยให้กลุ่มสมาชิกพูดคุยในทุกขั้นตอนตั้งแต่ผืนที่ดินสำหรับการสร้างบ้าน ขนาดของบ้าน รูปแบบในการก่อสร้าง โดยมี พอช. เป็นพี่เลี้ยงและช่วยอำนวยความสะดวก ในทำเลที่ตั้งชุมชนใหม่อยู่ติดถนนสายหลัก ง่ายต่อการเข้าถึงการทำกิน มีแนวคิดในการจัดทำตลาดชุมชน สาธารณูปโภคเข้าถึงได้ง่ายทั้งน้ำและไฟ แต่ยังติดปัญหาเพราะตอนนี้มีเพียง 100 กว่าครัวเรือนที่ยอมย้ายออกมา ทางกลุ่มออมทรัพย์ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายจึงอาจต้องเปิดให้บุคคลจากชุมชนอื่นๆ เข้ามาจับจองบ้าน แต่อย่างไรกลุ่มคณะกรรมการอยากให้สิทธิคนใน 6 ชุมชน นั้นอยู่ เพราะเป็นพี่น้องที่มีชะตาชีวิตและพบปัญหามาร่วมกัน

Image

โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับทีม SCF ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าโครงการนำร่องครั้งที่ 2 ภาคใต้ 3 จังหวัด ในวันที่วันที่ 13-23 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เข้าร่วมประชุมสรุปข้อมูลชุมชนบ้านหลบมุมเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดลงแผนที่ GIS วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ประชุมร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลาวางแผนการลงสำรวจเส้นทางน้ำ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในเมืองหาดใหญ่และสงขลา รวมทั้งวางแผนการลงพื้นที่ติดตามประเมินผลโครงการนำร่องครั้งที่ 2 วันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2566 ลงสำรวจพื้นที่เส้นทางน้ำจากคลองวาด คลองต่ำ คลองหวะ คลองอู่ตะเภา คลอง ร.1 ตลอดเส้นทางจนถึงพื้นที่ทะเลสาบสงขลา โดยภาพรวมเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของลำน้ำคลองอุ่ตะเภาได้อย่างชัดเจน มีการก่อสร้างที่เน้นโครงสร้างแข็ง ดาดด้วยปูนซีเมนต์ ระบบนิเวศริมคลองเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากเมื่อ 10 ปีก่อน ส่งผลต่อสมดุลน้ำเพราะป่าไม้ริมคลองถูกตัดจากการขุดลอกคลองไม่มีตัวดูดซับน้ำตามธรรมชาติ และมวลน้ำจะเดินทางมายังปลายน้ำได้เร็วขี้น กระแสน้ำมีความรุนแรง รูปแบบการท่วมของน้ำในเมืองคาดการณ์ได้ยาก แผนรับมือเดิมใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่รับน้ำเป็นบ้านจัดสรร แต่มุมมองของผู้คนในเมืองหาดใหญ่มีความมั่นใจว่า คลอง ร .1 สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ แต่เมื่อพิจารณาศักยภาพของคลองและปริมาณฝนที่ตกในช่วงที่ลงสำรวจที่มีปริมาณน้อยกว่าปี 2553 แต่น้ำในคลอง ร.1 นั้นมีมากถึง ¾ ของคลอง เป็นข้อสังเกตุและกังวลของนักวิชาการว่าหากมีฝนที่ตกในปริมาณเทียบเท่ากับปี 2553 คลอง ร. 1 จะไม่สามารถรับน้ำและระบายได้ทันอย่างที่ทางวิศวกรได้คำนวนไว้ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 แลกเปลี่ยนระบบข้อมูลพื้นที่เมืองพะตง ณ อนามัยเฉลิมพระเกียรติ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 แลกเปลี่ยนระบบข้อมูลพื้นที่เมืองบ่อยาง และลงสำรวจสถาณการณ์กัดเซาะชายฝั่งพื้นที่ม่วงงาม วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ลงสำรวจพื้นที่รับน้ำทะเลน้อยและแหล่งต้นน้ำห้วยขี้ค่างในช่วงน้ำท่วม วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ติดตามประเมินผลโครงการนำร่องเพื่อลดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพัฒนาการมีส่วนร่วมจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำสายห้วยขี้ค่างนำไปสู่ความเข้มแข็งของกลุ่ม ณ เทศบาลตำบลโตนดด้วน ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ติดตามประเมินผลโครงการนำร่อง “พัฒนากลไกภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์คลองละงู” ณ อบต.กำแพง อ.ละงู จังหวัดสตูล วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 8.30-12.00 น.ติดตามประเมินผลโครงการนำร่อง ประชุมคณะกรรมการเมืองโครงการเสริมสร้างองค์กรชุมชนเข้มแข็งเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองบ่อยาง ณ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น. ติดตามประเมินผลโครงการนำร่อง ประชุมกรรมการโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองพะตง ณ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.ณ ติดตามประเมินผลโครงการนำร่องประชุมคณะทำงานและภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองปาดังเบซาร์ ห้องประชุมเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น.ติดตามประเมินผลโครงการนำร่องประชุมคณะกรรมการพัฒนากลไกความร่วมมือระดับเมือง ณ เทศบาลเมืองควนลัง ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยภาพรวมโครงการนำร่องฯ ปฏิบัติงานได้ตามแผนและกำลังเข้าสู่ช่วงสุดท้ายในการคืนข้อมูลสู่ชุมชน นำข้อมูลเข้าสู่การหารือทำกติกา/แผนรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมืองร่วมกัน อีกทั้งพยายามผลักดันให้เกิดกลไกการทำงานในระดับเมือง จัดตั้งเป็นคณะกรรมการเมือง ต่อไป

Image

19 ตุลาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ประชุมการบริหารจัดการโครงการ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) เพื่อติดตามความก้าวหน้าปี 4 และหารือแผนการดำเนินงานปี 5” นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์เอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประชุมการบริหารจัดการโครงการ โดยสรุปสาระสำคัญในการพูดคุยหารือคือ โครงการนำร่องของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 3 โครงการ โดยมีคำถามที่แต่ละทีมต้องตอบให้ได้ว่า “โครงการนำร่องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง กลุ่มเปราะบางและชุมชนได้ประโยชน์อะไร และการเปลี่ยนแปลงมีองค์ความรู้อะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นกับคณะทำงานอย่างไรบ้าง?” ในส่วนขององค์กรที่ได้รับผิดชอบดำเนินโครงการนำร่องต้องตอบให้ได้ว่า “ได้องค์ความรู้อะไรบ้าง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และมีแนวทาง แนวคิด แผน ปฏิบัติ ด้านการบริหารจัดการเมือง ชุมชน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร?” และร่วมกันวางแผนการทำกิจกรรมในปีที่ 5 เน้นเรื่องการทบทวนยุทธศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยอยากจะช่วยเติมเต็มโครงการนำร่องซึ่งจะไม่เหมือนกับการติดตามประเมินผลของทางภาคใต้เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่างทั้งการสร้างทีมใหม่ มีการขยับด้านข้อมูลชุมชนจากการทำแผนที่เดินดิน และอาจารย์จำเนียรมาช่วยเติมเต็มด้านแผนผังภูมินิเวศ แผนต่อไปคือคุยต่อกับภาคีเครือข่ายพยายามจะทำความเข้าใจจากข้อมูลจริงในพื้นที่ สร้างการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมด้วยกัน ซึ่งยังเป็นช่องว่างในการทำงานของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะพยายามวิเคราะห์เป้าหมายและคุยวงต่างๆ เพื่อจะทำกิจกรรมร่วมกันในเดืนอพฤศจิกายนและประมาณต้นเดือนธันวาคม 2566 จะมีการลงพื้นที่ติดตามประเมินผลอีกครั้ง

Image

17 ตุลาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ประชุมการบริหารจัดการโครงการ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) เพื่อติดตามความก้าวหน้าปี 4 และหารือแผนการดำเนินงานปี 5” นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ประชุมการบริหารจัดการโครงการ โดยสรุปสาระสำคัญในการพูดคุยหารือ คือ โครงการนำร่องจะปิดในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และส่งรายงานเดือนมกราคม 2567 ของภาคใต้มี 4 โครงการ โดยมีคำถามที่แต่ละทีมต้องตอบให้ได้ว่า “โครงการนำร่องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง กลุ่มเปราะบางและชุมชนได้ประโยชน์อะไร และการเปลี่ยนแปลงมีองค์ความรู้อะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นกับคณะทำงานอย่างไรบ้าง?” ในส่วนขององค์กรที่ได้รับผิดชอบดำเนินโครงการนำร่องต้องตอบให้ได้ว่า “ได้องค์ความรู้อะไรบ้าง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และมีแนวทาง แนวคิด แผน ปฏิบัติ ด้านการบริหารจัดการเมือง ชุมชน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร?” และร่วมกันวางแผนการทำกิจกรรมในปีที่ 5 เน้นเรื่องการทบทวนยุทธศาสตร์ของแต่ละพื้นที่และจะผลักดันไปสู่ระดับไหนที่สามารถทำได้ ร่วมกันวางแผนลงพื้นที่ในการติดตามประเมินผลในช่วงวันที่ 14-23 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งแต่ละเมืองจะถือโอกาสเป็นการจัดประชุมคณะกรรมการเมืองครั้งที่ 3 ด้วย ซึ่งจะมีทั้งตัวแทนกลุ่มเปราะบาง หน่วยงานในพื้นที่ ภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ โครงการนำร่อง ส่วนความก้าวหน้าการทำงานและข้อกังวลของแต่ละเมือง คือ ส่วนใหญ่เป็นนักปฏิบัติ ยังไม่มีใครช่วยมองภาพรวมในด้านการบริหารจัดการและผลักดันในระดับนโยบาย บ้างเมืองบุคลากรไม่มีเวลาเนื่องจากทำงานประจำ การขับเคลื่นไม่ค่อยเป็นไปตามแผนและมีความล่าช้า การแบ่งงานแต่ไม่มีผู้ประสานทำให้สาระสำคัญของงานหายไปเขียนรายงานไม่ได้ และภาระยังตกไปที่คนใดคนหนึ่งในทีม

Image

4-8 กันยายน 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ประชุมเชิงปฏิบัติการ“ออกแบบแนวทางการจัดทำแผนผังภูมินิเวศสู่การพัฒนาจัดการเมืองสำหรับเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ”และ “การทำแผนที่เดินดินเติมเต็มข้อมูลและสถานการณ์ของเมือง” สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์เอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ“ออกแบบแนวทางการจัดทำแผนผังภูมินิเวศสู่การพัฒนาจัดการเมืองสำหรับเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ” และ “การทำแผนที่เดินดินเติมเต็มข้อมูลและสถานการณ์ของเมือง” โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ วันที่ 4-6 กันยายน 2566 จัดทำแผนที่เดินดิน 3 พื้นที่ ได้แก่ เมืองสระใคร เมืองหนองคาย และเมืองสามพร้าว เพื่อทบทวนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาและเติมเต็มข้อมูลเชิงกายภาพในพื้นที่ทั้งการทำผัง การลงที่ตั้งชุมชน ข้อมูลจุดเสี่ยง ทรัพยากรต่างๆ ทำให้พื้นที่เข้าใจข้อมูลและมองเห็นปัญหาร่วมกันได้ชัดเจนขึ้น วันที่ 7 กันยายน 2566 อบรมแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้การจัดทำแผนผังภูมินิเวศ แผนผังภูมินิเวศเป็นเครื่องมือสร้างองค์ความรู้ น้ำเป็นกระดูกสันหลังของระบบนิเวศ แผนและผังมันต่างกัน (ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน) ผังชุมชนธรรมนูญชุมชน ฉากทัศน์อนาคต ดูว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ทุก stakeholder ต้องมาทำด้วยกัน ธรรมนูญการผังเมืองชุมชน (ข้อตกลงร่วมกันของชุมชนในการจัดการภายในชุมชน ชุมชนจะมีบทบาทอย่างไร กฎร่วมของสังคม เพื่อใช้ในการต่อรองกับหน่วยงานอื่นๆ ในการจัดการตนเอง) ปัญหา ความท้าทาย แนวทางแก้ไข ภาคประชาสังคมในพื้นที่ต้องรู้จักการทำงานกับ อปท. หน่วยงานต่างๆ อย่าตั้งแง่ใส่กัน ยิ่งมีข้อมูลลึกและละเอียดเท่าไร ทั้งคุณภาพและปริมาณจะยิ่งมีประสิทธิภาพ ชาวบ้านต้องรู้ตัวเลขข้อมูลงานวิจัย ถึงจะเท่าทันสถานการณ์ ข้อมูลเชิงกายภาพเป็นแผนที่สะท้อนแผนผังภูมินิเวศ ประเด็นยุทธศาสตร์ต้องชัดเจนไม่งั้นทำงานแก้ปัญหาไม่ถูก วันที่ 8 กันยายน 2566 ประชุมเข้าพบผู้บริหารราชภัฏอุดรธานีและรองนายกองค์กรบริหารส่วนตำบลบ้านสามพร้าว เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยฯ และชุมชน รับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาแบบไร้ทิศทาง อปท.ที่โตไม่ทันตามเมืองทั้งกฎระเบียบ ศักยภาพของบุคลากร การทำผังภูมินิเวศต้องดึงชาวบ้านเข้ามาร่วมในการทำแผนที่เกิดความร่วมมือและร่วมสะท้อนปัญหาได้ข้อมูลจากชุมชนอย่างแท้จริง หน่วยงานอื่นๆ มาต้องได้เห็นข้อมูลแบบชัดๆ สำคัญที่ทุกฝ่ายต้องมองว่าเป็นปัญหาร่วม เราจะไม่ผลักภาระให้ใคร มหาลัยคือโอกาสหรือภัยคุกคาม ขึ้นอยู่กับการออกแบบในการพัฒนา เอาความรู้มาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนกันจัดตั้งเป็น “ปฏิญญาสามพร้าว”

Image

16 สิงหาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผนผังภูมินิเวศกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผนผังภูมินิเวศกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสรุปสาระสำคัญคือ ดร.ธงชัย โรจนกนันท์ ให้แนวคิดการแก้ปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติโดยใช้ผังภูมินิเวศต้องใช้เวลา ไม่เหมือนการแก้ปัญหาโดยสิ่งก่อสร้าง ผังภูมินิเวศคือการรื้อฟื้นระบบนิเวศให้สู่ระบบเดิม การปลูกป่าโดยเก็บน้ำไว้ที่ต้นน้ำให้มากที่สุดบนภูเขาต้องสร้างระบบนิเวศให้กลับมามีต้นไม้มีธรรมชาติให้มาก คือการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุลและเกื้อกูลกัน สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือ ต้องรู้ว่าอะไรบ้างเป็นระบบนิเวศเด่นที่ใช้ในชุมชนได้ เป็นการพึ่งพาใช้กลไกของธรรมชาติมาแก้ปัญหาภัยธรรมชาติ ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ กล่าวถึงความสำคัญของการจัดทำแผนผังภูมินิเวศ “น้ำ”เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับระบบนิเวศ มนุษย์สร้างเมืองจากต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ และล้วนมีผลกระทบต่อระบบนิเวศต่างกันไป ระบบนิเวศธรรมชาติมีความเปราะบาง และได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่กำลังขยายตัวรวดเร็ว ชุมชนที่พัฒนาโดยไม่คำนึงถึงระบบนิเวศมักก่อปัญหาที่ร้ายแรงและแก้ยาก แนวคิดในการสร้างความกลมกลืนระหว่างเมืองและระบบนิเวศ โดยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่า เพื่อให้การพัฒนาเมืองและชุมชนเป็นไปอย่างยั่งยืน แนวคิดแผนผังภูมินิเวศได้ถูกผลักดันในยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรามีแผนพัฒนา แต่แผนพัฒนาไร้เทียมทาน ไร้ทิศทาง ไม่ได้คำนึงถึงชนรุ่นหลังและธรรมชาติ การวางแผนผังเมือง ไม่ได้คิดถึงสิ่งแวดล้อมไม่เข้าใจธรรมชาติ แผนผังภูมินิเวศไม่ใช่คำตอบแต่เป็นเพียงเครื่องมือ โดยแผนผังภูมินิเวศเป็นการพัฒนายุทธศาสตร์ไม่ใช่การพัฒนาโครงการ เป็นการมองไกลไม่ใช่มองใกล้ มีประเด็นอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง เช่น การพัฒนาเมือง การพัฒนาที่อยู่อาศัย เรื่องมลพิษ แต่ละเทศบาลแต่ละชุมชนต้องหาประเด็นยุทธศาสตร์ให้เจอ และพื้นที่ยุทธศาสตร์ต้องมีความชัดเจน และการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การทำแผน ผัง ภูมินิเวศ ต้องหาแผนพัฒนาของเราให้เจอหลังจากมีแผนยุทธศาสตร์แล้ว อะไรที่เป็นปัญหาที่ต้องฟื้นฟู การอนุรักษ์สิ่งที่ดีเอาไว้ สิ่งที่เราจะทำกันก่อนคือ การพัฒนา แต่เราไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรคือนวัตกรรมที่จะพัฒนาต่อ

Image

17-20 กรกฎาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและหนุนเสริมโครงการนำร่อง (พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครั้งที่ 1 นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์เอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและหนุนเสริมโครงการนำร่อง (พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ครั้งที่ 1 สรุปประเด็นสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. จังหวัดหนองคาย (เมืองสระใครและเมืองหนองคาย) ค่อนข้างทำกิจกรรมล่าช้ากว่าแผนงาน เนื่องจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะทำงานหลักของเมือง จึงต้องทำการพูดคุยทำความเข้าใจโครงการฯ ใหม่ พร้อมทั้งหาแนวทางจัดตั้งคณะทำงานใหม่ในพื้นที่เมืองหนองคาย ต้องมีการปรับแผนการทำงานหลักๆ โดยทั้ง 2 พื้นที่ ต้องทำการสร้างเครือข่ายในพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้งภาคประชาสังคม ชาวบ้าน เอกชน และภาครัฐ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมที่เป็นเจ้าของปัญหาและแนวทางในการแก้ไขร่วมกันตั้งแต่ต้น อีกทั้งยังมีการจัดทำข้อมูลฐานชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน ความสัมพันธ์ ต้นทุนต่างๆ ที่มีในพื้นที่ แผนที่เสี่ยง และเชื่อมร้อยเครือข่ายในการทำงานผ่านการเห็นข้อมูลร่วมกัน 2. จังหวัดอุดรธานี (เมืองหนองสำโรงและเมืองสาวพร้าว) ทำกิจกรรมเป็นไปตามแผนงาน กำลังขยับในเรื่องการเก็บข้อมูลและทำแผนที่เดินดินในชุมชน เริ่มมีการเชื่อมร้อยเครือข่ายในพื้นที่ แต่ยังเน้นที่ อปท.เป็นหลัก ประเด็นปัญหาเรื่องน้ำเริ่มมองภาพอนาคตในการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ว่าการแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าเชิงโครงสร้างต่างๆ ไม่เพียงพอต่อการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นแล้ว จึงอยากลองใช้แนวทางและทฤษฎี nature base solution มาช่วยในการแก้ปัญหา ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า แผนผังภูมินิเวศ ให้ชุมชนได้เห้นปัญหาร่วมกัน 3. จังหวัดขอนแก่น (เมืองขอนแก่นและเมืองบ้านไผ่) กิจกรรมเป็นไปตามแผนงาน โดยเน้นสร้างความเข้มแข็งของคนในชุมชน เสริมสร้างศักยภาพคณะทำงานที่เป็นฐานชาวบ้านอย่างแท้จริง เนื่องจากทั้ง 2 พื้นที่ อยู่ในที่ดินการรถไฟและต้อมทำการย้ายออกเป็นที่แน่นอน การสร้างการยอมรับต่อภาครัฐ การมีอำนาจต่อรอง ออกแบบที่อยู่ในพื้นที่ใหม่ได้ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทางโครงการฯ ต้องการผลักดัน เพราะในพื้นที่เดิมชาวบ้านไร้ซึ่งสิทธิและการออกแบบวิถีของชุมชน ดังนั้นเมื่อต้องย้ายไปยังพื้นที่ใหม่จึงต้องการได้สิทธิและการยอมรับในการวางแผนจัดการพื้นที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เหลื่อมล้ำ และมีความชัดเจนในการจัดการช่วยเหลือจากภาครัฐ

Image

9-14 กรกฏาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและหนุนเสริมโครงการนำร่อง (พื้นที่ภาคใต้) ครั้งที่ 1 นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและหนุนเสริมโครงการนำร่อง (พื้นที่ภาคใต้) ครั้งที่ 1 สรุปประเด็นสาระสำคัญได้ดังนี้ จังหวัดสงขลา (เมืองปาดังเบซาร์+เมืองบ่อยาง+เมืองควนลัง+เมืองพะตง) ทำกิจกรรมได้ตามแผนงานโครงการฯ ต้องเพิ่มเติมในส่วนของการเก็บข้อมูลชุมชนให้ละเอียดมากขึ้น ทั้งจากแบบสอบถาม การทำกระบวนการกลุ่ม และแผนที่เดินดิน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และทำแผนชุมชนจากการได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานชุมชน ก่อนนำมาคืนข้อมูลและหาแนวทางในการทำแผนชุมชน กติการ่วม หรือธรรมนูญชุมชน ต่อยอดไปสู่การจัดตั้งองคืกรชุมชน เพื่อทำงานอย่างต่อเนื่อง จังหวัดพัทลุง (เมืองโตนดด้วน) ทำกิจกรรมเป็นไปตามแผนงาน มีการเชื่อมร้อยประสานภาคีเครือข่ายในระดับเมือง ผ่านการทำงานร่วมกับ อบจ. ผ่านกลไกการทำฝายมีชีวิต เพื่อใช้ชะลอน้ำท่วมและกักเก็บน้ำในช่วงน้ำแล้ง อาจต้องเพิ่มเติมประเด็นในส่วนผู้ได้รับประโยชน์จากฝายทั้ง 3 แห่ง ว่าใครคือผู้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรม เพื่อนำมาเป็นตัวชี้วัดต่อยอดไปสู่การทำงานในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดได้ จังหวัดสตูล (เมืองละงู) กิจกรรมเป็นไปตามแผนงาน แต่ติดปัญหาในพื้นที่ต้นน้ำเรื่องความร่วมมือ เพราะเขาไม่เข้าใจว่าเรามาทำอะไร และจะได้ประโยชน์อย่างไร แต่เมื่อคณะทำงานได้ลงพื้นที่จัดประชุมและชี้แจ้งในพื้นที่ ได้รับความร่วมมือและตอบรับมากขึ้น ในการฟื้นฟูลุ่มน้ำคลองละงุ ต้องทำงานในภาพใหญ่ระดับจังหวัด จึงเน้นการทำงานสร้างภาคีเครือข่ายพร้อมทั้งรื้อฟื้นข้อมูลลุ่มน้ำจากอดีตสู่ปัจจุบันให้เห้นความเปลี่ยนแปลงและมองภาพผลกระทบในอนาคตร่วมกัน ทั้งนี้จะมีการเชิญชุมชนลุ่มน้ำคลองดุสน ที่ทำงานด้านลุ่มน้ำมานานมาช่วยแลกเปลี่ยนและให้คำแนะนำในการทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์กรชุมชน และธรรมนูญสายน้ำ โดยสรุปแนวทางหลัก ๆ ของการดำเนินโครงการฯ ของทั้ง 3 จังหวัด ยังเน้นที่การสร้างเครือข่ายภาคี รื้อฟื้นทำความเข้าใจร่วมกัน การเก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชนผ่านเครื่องมือศึกษาชุมชนทั้ง 7 ชิ้น ร่วมทั้งวางโครงสร้างต่างๆ ในการขยับตัวก่อตั้งเป็นองค์กรชุมชนสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานให้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไปทั้ง 3 จังหวัด เห็นร่วมกันว่าต้องการใช้เครื่องมือ แผนผังภูมินิเวศ โดยทางทีมได้ประสาน ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ถึงหลักการ แนวทางการนำแผนผังภูมินิเวศไปใช้ในการวางแผน และทำแผนผังภูมินิเวศ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ที่จังหวัดสงขลา ต่อไป

Image

15 มิถุนายน 2566 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดยดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา จัดประชุมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการดำเนินโครงการนำร่อง ระหว่างพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการนำร่อง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566-ปัจจุบัน รวมถึงแลกเปลี่ยนแนวทางในการปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินงานให้สอดคล้องกับปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว โดยได้จำแนกประเด็นในการนำเสนอ เป็น 5 ประเด็น ได้แก่ เมืองที่เผชิญกับน้ำท่วม ได้แก่ เมืองสามพร้าวและเมืองหนองสำโรง จ. อุดรธานี และเมืองพะตง จังหวัดสงขลา การบริหารจัดการน้ำของเมือง ได้แก่ เมืองควนลัง และชุมชนโตนดด้วน ความยากจนในเมือง ได้แก่ เมืองขอนแก่น และเมืองบ้านไผ่ การพัฒนาเมืองที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ ได้แก่ เมืองละงู เมืองสระใคร และเมืองหนองคาย (โคกแมงเงา) และ มลพิษทางอากาศ ได้แก่ เมืองปาดังเบซาร์ ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะจากทั้ง 2 ภูมิภาค สำหรับการเรียนเชิญ ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติของโครงการ เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดทำแผนผังภูมินิเวศ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือหลักในการจัดการข้อมูลจากฐานชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการวางแผนเตรียมความพร้อมของเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ

Image

6-9 มิถุนายน 2566 ทีมโครงการ SUCCESS ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและหนุนเสริมโครงการนำร่องฯ พื้นที่ภาคใต้ทั้ง 6 เมือง ในเบื้องต้นทุกทีมได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนงานกิจกรรมและสอดคล้องกับการใช้งบประมาณ กิจกรรมต่อไปคือการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าระหว่างภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในรูปแบบออนไลน์ (Zoom) ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ต่อไป

Image

9 พฤษภาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการดำเนินโครงการนำร่อง SUCCESS Y4 นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) และศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานโครงการนำร่องของทั้งภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเบื้องต้นพบว่าแม้จะมีความล่าช้าในการดำเนินกิจกรรมอยู่บ้างแต่โดยภาพรวมคาดว่าทุกโครงการฯจะดำเนินงานแล้วเสร็จตามแผนการเดิมคือในช่วงเดือนธันวาคม 2566 และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการใช้เครื่องมือแผนผังภูมินิเวศ โดยต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เพิ่มเติม เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ภาครัฐรับฟังและเปลี่ยนมุมมองการทำแผนรับมือจากเดิมที่ใช้โครงสร้างแข็งมาแก้ปัญหา ปรับเป็นการใช้ระบบนิเวศที่มิติด้านสังคมมากขึ้น เชื่อมร้อยการทำงานอย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริงจากชุมชนผู้มีข้อมูลฐานราก เข้มแข็งจัดการตนเองได้ โดยอาศัยกลไกในการทำงานทั้งระดับชุมชนและระดับเมือง

Image

สรุปภาพร่วมการดำเนินกิจกรรมโครงการนำร่อง ในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน 2566 คณะทำงานโครงการนำร่อง (ภาคใต้) ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ได้เริ่มดำเนินกิจกรรมโครงการนำร่อง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและแผนการดำเนินงาน รับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้นโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และหลังจากนี้จะมีกิจกรรมต่อเนื่อง โดยการจัดตั้งคณะทำงาน และขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกัน โดยสรุปได้ดังนี้

Image

23 มีนาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปได้จัดการการประชุม (ออนไลน์) เพื่อชี้แจ้งระเบียบการเบิกจ่ายเงินและการบริหารโครงการนำร่อง โดย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) ชี้แจ้งรายละเอียดการบริหารจัดการโครงการนำร่อง แบบฟอร์มทางการเงินและหลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายค่าดำเนินกิจกรรม รูปแบบรายงานรวมถึงกำหนดเวลาในการส่งงานต่างๆ ให้แก่องค์กรดำเนินโครงการนำร่องทั้ง 3 องค์กรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมถึงตัวแทนพื้นที่ในการดำเนินโครงการทั้ง 6 พื้นที่ ได้แก่ มูลนิธิชุมชนอีสาน (สระใคร+โคกแมงเงา) สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น(ชุมชนมิตรภาพ+ชุมชนบ้านไผ่) และสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ(หนองสำโรง+บ้านสามพร้าว) ได้ร่วมกันซักถามและทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินโครงการนำร่องที่เป็นกิจกรรมหลักของโครงการในปีที่ 4 ดำเนินเสร็จสิ้น ลุล่วงไปด้วยดี

Image

8 มีนาคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปได้จัดการการประชุม (ออนไลน์) เพื่อชี้แจ้งระเบียบการเบิกจ่ายเงินและการบริหารโครงการนำร่อง โดย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ชี้แจ้งรายละเอียดการบริหารจัดการโครงการนำร่อง แบบฟอร์มทางการเงินและหลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายค่าดำเนินกิจกรรม รูปแบบรายงานรวมถึงกำหนดเวลาในการส่งงานต่างๆ ให้แก่องค์กรดำเนินโครงการนำร่องทั้ง 4 องค์กรในภาคใต้ ร่วมถึงตัวแทนพื้นที่ในการดำเนินโครงการทั้ง 6 พื้นที่ ได้แก่ SCCCRN (พะตง+ควนลัง) สมาคมอาสาสร้างสุข(บ่อยาง+ปาดังเบซาร์) สมาคมอาสาสร้างสุขชุมชนคนเมืองลุง (โตนดด้วน) และสมาคมผู้บริโภคสตูล(ละงู) ได้ซักถามและทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินโครงการนำร่องที่เป็นกิจกรรมหลักของโครงการในปีที่ 4 ดำเนินเสร็จสิ้น ลุล่วงไปด้วยดี

Image

17-18 มกราคม 2566 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปได้จัดการการประชุมเชิงปฏิบัติการ “เติมเต็มข้อเสนอโครงการนำร่องพื้นที่ภาคใต้ ครั้งที่ 2 ” ณ โรงแรมเซาเทิร์นแอร์พอร์ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นำโดย นายชาคริต โภชะเรือง มูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย แกนนำจากทีมประเมินความเปราะบางฯจากชุมชนแหลมสน เมืองบ่อยาง และเมืองปาดังเบซาร์ ร่วมหารือและเติมเต็มข้อเสนอโครงการนำร่อง โดยใช้หลักการวางแผนโครงการแบบเหตุผลสัมพันธ์ (Logframe) ร่วมกันระบุกิจกรรม ผลผลิตและผลลัพธ์เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และมีการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อวัดผลความสำเร็จ มีการแลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างเมือง กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาศักยภาพแกนนำภาคประชาสังคมให้เข้าใจแนวทางการจัดทำโครงการ สามารถเขียนโครงการ และนำความรู้ที่ได้ไปจัดทำโครงการนำร่องที่ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักในปีที่ 4 ของโครงการฯ

Image

29-30 พฤศจิกายน 2565 ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปได้จัดการการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบโครงการนำร่อง” ณ โรงแรมเซาเทิร์นแอร์พอร์ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) แกนนำจากทีมประเมินความเปราะบางฯ และหน่วยงานพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคใต้ ร่วมหารือและออกแบบโครงการนำร่องโดยใช้หลักการวางแผนโครงการแบบเหตุผลสัมพันธ์ (Logframe) เพื่อสร้างความตระหนักในการสร้างการเตรียมพร้อมให้กับทุกภาคส่วนให้รับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในวันแรกมีการบรรยายและให้ทดลองเขียนโครงการผ่านแบบฝึกหัด เริ่มจากการระดมสมองวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและสาเหตุทั้งหมดของปัญหาจนได้หัวใจของปัญหา (pain point) นำมาสู่การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ระบุกิจกรรมได้ผลผลิตและผลลัพธ์เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และมีการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อวัดผลความสำเร็จ และในวันที่สองได้นำหลักคิด “ถ้าเราคิดชัดมันก็ปฏิบัติง่ายสู่เป้าหมายได้เร็ว” มาประยุกต์สู่การเขียนโครงการนำร่อง มีการแลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างเมือง กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาศักยภาพแกนนำภาคประชาสังคมให้เข้าใจแนวทางการจัดทำโครงการ สามารถเขียนโครงการ และนำความรู้ที่ได้ไปจัดทำโครงการนำร่องที่จะเป็นกิจกรรมหลักในปีที่ 4 ต่อไป

Image

7 ตุลาคม 2565 “การสร้างความร่วมมือในการต่อยอดงานวิจัย” ภายใต้การประชุมใหญ่ปี 2565 “เมืองรู้ร้อนรู้หนาว เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง” โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป เสร็จสิ้นการประชุมใหญ่ปี 2565 ของโครงการ SUCCESS โดยวันสุดท้ายได้จัดการประชุมสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัย โดย TEI นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับ SCF CSNM และ ทีมประเมินความเปราะบางฯ หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำเสนอช่องว่างของความรู้และงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ ร่วมกับภาควิชาการจากมหาวิทยาลัยในภาคใต้ โดยอาศัยการสังเคราะห์ผลที่ได้จากการประเมินความเปราะบางของเมืองและชุมชนเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเด็นที่หลากหลายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และด้านอื่นๆ อาทิ การกำหนดการพัฒนาเมืองตามหลักการต่างๆ เป็นแนวทางที่สร้างการเตรียมความพร้อมต่อภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ นอกจากนี้ประเด็นที่สำคัญคือการย่อยข้อมูลที่เป็นภาษาวิชาการให้คนทุกระดับสามารถเข้าถึง และเข้าใจได้ง่าย ที่สามารถสร้างความตระหนักในการสร้างการเตรียมพร้อมให้กับทุกภาคส่วนได้

Image

6 ตุลาคม 2565 การประชุมในวันนี้ เป็นการรับฟังกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่สอดคล้องกับการเตรียมความพร้อมของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคุณบุญบังอร ชนะโชตินำเสนอ การปฏิบัติการ “ปิ่นโตตุ้มตุ้ย” ศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง” และ กรณีศึกษา "การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเมืองโฮนีอารา หมู่เกาะโซโลมอน" โดย Professor Dr Darryn McEvoy จาก RMIT University และร่วมรับฟัง "5 ข้อคิดสำคัญในการจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับเมือง" โดย Professor Dr David Sanderson (UNSW) รวมถึง "บทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" โดย Dr Han Aarts – the Maastricht University นอกจากนี้ยังได้รับฟัง "การบริหารจัดการข้อมูลโดยอาศัย Platform ได้แก่ Platform iMedcare@home และ IGreensmile" โดยมูลนิธิชุมชนสงขลา รวมถึง Professor-Scientific Director Pim Martens ที่นำเสนอ "ความเขื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับสุขภาพ" และ Dr. David Tàbara ได้นำเสนอ "การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน" ซึ่งผู้เข้าร่วมได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนและซักถามข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และถือเป็นโอกาสในการเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับทีมประเมินความเปราะบางทั้ง 12 ทีมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ต่อไป

Image

5 ตุุลาคม 2565 การประชุมในวันนี้จัดขึ้นเพื่อให้คณะทำงานโครงการและภาคีเครือข่ายทั้งหมดภายใต้โครงการ ได้แก่ TEI SCF CSNM Maastricht University (UM) คณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ได้มาร่วมพบปะกันเป็นครั้งแรก โดยได้ร่วมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าในการดำเนินงานรวมถึงแนวทางการวางแผนดำเนินโครงการนำร่อง นอกจากนี้ยังได้ร่วมรับฟังผลการประเมินโครงการจากผู้ประเมินภายนอก เพื่อทบทวนและสะท้อนการดำเนินโครงการตามกรอบการดำเนินงานของโครงการ (logframe) รวมถึงข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้การดำเนินงานมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในช่วงบ่ายผู้เข้าร่วมประชุมได้ลงเยี่ยมชมพื้นที่ริมชายหาดสมิลา-ชลาทัศน์ ซึ่งเป็นพื้นที่การศึกษาประเมินความเปราะบางของชุมชนบ่อยาง ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง เนื่องจากการสร้างโครงสร้างแข็งรบกวนสมดุลของตะกอนทรายและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ใช้บริการรถรางชมเมืองสงขลาของเทศบาลนครสงขลา และรถตุ๊กตุ๊กของผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งเป็นการสนับสนุนรายได้ให้กับท้องถิ่นอีกด้วย

Image

4 ตุลาคม 2565 ภายใต้การประชุมใหญ่ปี 2565 “เมืองรู้ร้อนรู้หนาว เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง” เสร็จสิ้นไปอีกหนึ่งวัน สำหรับภารกิจสำคัญในการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการผลักดันประเด็นของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับพื้นที่ เข้าสู่แผนพัฒนาระดับท้องถิ่น ระดับชาติ โดยมองภาพรวมของเมืองเชิงระบบ ได้แก่ บุคคล/หน่วยงาน/องค์กร ระบบเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงวิถีปฏิบัติ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลักดันนโยบายแบบล่างขึ้นบน (bottom-up) โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมบรรยายและให้ความรู้เรื่อง ความก้าวหน้าและทิศทางของนโยบายและแผนด้านการพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย และทาง SCF และ CSNM ได้นำเสนอสถานการณ์ของแผนพัฒนาและนโยบายและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคใต้และภาคอีสาน รวมทั้ง ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ นำเสนอให้ชวนคิดเรื่อง “ทำไมเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องปรับตัว เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” และยังได้รับการแบ่งปันประสบการณ์การศึกษาของ ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง เกี่ยวกับ บทเรียนน้ำท่วมจากบ้านไผ่จากพายุโพดุล และรับฟังการบรรยายพิเศษจากคุณสาโรจ ศรีใส คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เรื่อง บทบาทของ EU ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมือง และความสำคัญของ European Green Deal กับประเทศไทย ในช่วงบ่ายมีการเสวนาในหัวข้อ “นโยบายพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ ระดับพื้นที่สู่ระดับชาติ” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ได้แก่ คุณปิยวรรณ ชูนวล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการผังเมือง สำนักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสงขลา คุณสุริยา ยี่ขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก คุณสาคร สงมา Climate Watch Thailand ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดสงขลา ศาสตราจารย์กิติคุณ ศ.สุริชัย หวันแก้ว โดยได้รับฟังมุมมองแนวคิดของแต่ละท่านที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านผังเมือง ผู้บริหารเมือง ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ถึงของการกลายเป็นเมืองและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะส่งผลต่อชุมชนเมือง และการเตรียมตัวของแต่ละภาคส่วนจะช่วยสนับสนุนให้ชุมชนเมืองมีศักยภาพในการเตรียมพร้อมมากขึ้น ทั้งนี้ยังได้รับฟังสถานการณ์ของการปรับปรุงผังเมืองให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันโดยยึดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้มีการกำหนดธรรมนูญผังเมือง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเครื่องมือที่ชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินได้มากขึ้น

Image

3-7 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมเดอะเบด เวเคชั่น ราชมังคลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โครงการ SUCCESS สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยนำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับ SCF CSNM และ Maastricht University จัดประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อให้ภาคีเครือข่ายทั้งหมดของโครงการ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมถอดบทเรียนและองค์ความรู้ใหม่ ที่ได้รับจากการดำเนินงาน พร้อมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนระดับนโยบายร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมของเมืองต่อผลกระทบจากการพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน เท่าเทียม และเป็นธรรม ทั่วถึงกลุ่มคนทุกระดับ สำหรับวันที่ 1 (3 ตุลาคม 2565) เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน” เครือข่ายทีมประเมินความเปราะบางทั้งภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนผลการศึกษาประเมินความเปราะบาง โดยนำเสนอในรูปแบบโพสเตอร์ และร่วมถอดบทเรียนแนวทางการปฏิบัติในการลดและแก้ปัญหาความเปราะบางในมุมมองของท้องถิ่นกรณีที่มีงบประมาณและเวลาจำกัด โดยจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ทั้งด้านระบบเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านบุคคล หน่วยงานและองค์กร และด้าน วิถีปฏฺบัติ กฏ ข้อกำหนด แผน นโยบาย เพื่อให้เห็นแนวทางและรูปแบบใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา และเป็นแนวทางในการนำข้อมูลการประเมินความเปราะบางไปใช้ในการวางแผนโครงการนำร่อง เพื่อตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและตรงตามความต้องการของพื้นที่ต่อไป

Image

การประชุมหารือการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง TEI SCF และ CSNM ภายใต้โครงการ SUCCESS ในวันอังคารที่ 6 กันยายน 2565 เวลา 09:30 -12:00 ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อหารือการจัดเตรียมงานประชุมใหญ่ปี 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.สรุปภาพรวมการจัดทำ (ร่าง)ยุทธศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ 2. หารือกำหนดการประชุมใหญ่ปี 2565 วันที่ 3-7 ตุลาคม 2565 3. แบ่งรายละเอียดการประสานงานระหว่าง 3 หน่วยงาน ทั้งนี้ทั้ง 3 ทีมได้ข้อสรุปร่วมกัน และเร่งดำเนินการประสานภาคส่วนต่างๆ อีกทั้งจัดเตรียมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์การจัดงาน ต่อไป

Image

3-4 กันยายน 2565 โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ทีม TEI นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา และทีม SCF นำโดย คุณชาคริต โภชะเรือง จัด “ประชุมเชิงปฏิบัติการร่างแผนยุทธศาสตร์เมืองโครงการ SUCCESS ภาคใต้” ณ โรงแรมโกลว์รัตนาเพลส อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยนำผลการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาใช้ยก (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปเสนอและผลักดันเข้าสู่แผนงานหรือนโยบายขององค์กรที่รับผิดชอบ และนำมาจัดทำโครงการนำร่องในพื้นที่ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมต่อไป โดยมีองค์กรประชาสังคม ได้แก่ สมาคมอาสาสร้างสุข สมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล แกนนำทั้ง 6 เมือง ซึ่ง (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์เน้นพัฒนากลไกบูรณาการการแก้ปัญหาร่วมกันทั้งในด้านการบริหารจัดการน้ำ ยกระดับเครือข่ายมาเป็นองค์กรภาคประชาชน/นิติบุคคลในการร่วมบริหารจัดการ บนฐานระบบภูมินิเวศ การสร้างความเข้มแข็งขององค์กร พัฒนาศักยภาพสมาชิกให้เข้มแข็ง พึ่งตนเอง ช่วยเหลือกันเอง และร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการชุมชนตนเองในด้านสิ่งแวดล้อม การรับมือภัยพิบัติ และการพัฒนาเมือง ซึ่งหลังจากการประชุมครั้งนี้ทั้ง 6 เมือง จะนำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ที่ได้ไปหารือร่วมกันกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ให้มีความสมบูรณ์และตอบโจทย์ความต้องการแก้ปัญหาจากคนในพื้นที่อย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะสำคัญจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย คือ การปรับแนวคิดการรับมือและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศควรมองไปถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้น เตรียมมาตรการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน รวมถึงทบทวนมาตรการที่ผ่านมา รวมถึงการพัฒนาเมืองที่จะต้องรองรับสิ่งใหม่ที่จะเพิ่มเข้ามามากกว่าแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

Image

2-3 กันยายน 2565 ศูนย์ประชาสังคมฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุม เชิงปฏิบัติการพัฒนาร่างแผนยุทธศาสตร์และข้อเสนอโครงการนำร่อง โดยมีเป้าหมายสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมนำร่องใน 3 เมือง เพื่อลดความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ณ ห้องแกรนด์พาวิลเลี่ยน โรงแรมราชาวดีรีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนโดย สหภาพยุโรป (EU) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ มีการนำเสนอภาพรวมของการประเมินความเปราะบาง ในเชิงคุณภาพชี้ให้เห็นว่า สภาพทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน, ศักยภาพเชิงสถาบัน, สิทธิ, ความมั่งคงในการดำรงชีพ และคุณลักษณะบุคคล (เพศ วัย สุขภาพ ฯลฯ) เป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเปราะบางของเมือง ในเชิงปริมาณชี้ว่า รายได้, การใช้น้ำ, การประสบภัยพิบัติในรอบ 5 ปี, ความไวต่อภัยพิบัติ และทรัพย์สินหรือข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน มีอิทธิพลต่อศักยภาพหรือความสามารถในการปรับตัวของครัวเรือน (หากประสบภัยพิบัติหลายครั้งและซ้ำซากจะทำให้ศักยภาพหรือความสามารถปรับตัวลดลงโดยเฉพาะด้านทรัพย์สิน) ปัจจัยทั้ง 6 ตัวนี้ มีอิทธิพลต่อความสุขโดยรวมของครัวเรือน สำหรับประเด็นในเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อลดความเปราะบางของเมือง ที่ประชุมได้กำหนดประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ จากการประเมินความเปราะบางของเมือง 3 เรื่อง คือ 1) ประเด็นสิทธิ 2) ประเด็นเรื่องศักยภาพเชิงสถาบัน และ 3) ประเด็นเรื่องการออกแบบและพัฒนาเมืองบนพื้นฐานนิเวศ

Image

23-24 พฤษภาคม 2565 โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา และศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับทีมประเมินความเปราะบางฯ ได้แก่ ทีมเมืองขอนแก่นนำโดยศูนย์เพื่อนคนไร้บ้าน ลงสำรวจพื้นที่ชุมชนมิตรภาพ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองและกำลังถูกไล่รื้อจากการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง อีกทั้งเป็นแหล่งระบายน้ำท่วมและน้ำเสียของเมือง และทีมเมืองบ้านไผ่ นำโดยกลุ่มสหกรณ์เคหสถาน 4 ชุมชนเมืองไผ่ ลงสำรวจชุมชนซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟ และได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมจากพายุโพดุล ปี 2562 การลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ร่วมพูดคุยเรียนรู้ไปกับทีมประเมินฯ ร่วมสำรวจและทำความรู้จักกับกลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อทำความเข้าใจบริบทและปัญหาของพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางและมุมมองของการนำผลที่ได้จากการศึกษาไปต่อยอดในระดับนโยบายในพื้นที่ต่อไปย

Image

5 พฤษภาคม 2565 - โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ประจำเดือนพฤษภาคม ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา มูลนิธิชุมชนสงขลา และแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง ในครั้งนี้แต่ละทีมประเมินความเปราะบางฯ ได้นำเสนอ (ร่าง) รายงานผลการศึกษาและสิ่งที่ค้นพบจากการประเมินความเปราะบาง ฯ ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแผนดำเนินงาน โดยทางโครงการฝากข้อคิดที่สำคัญคือ ข้อมูลทุกอย่างที่แต่ละทีมเก็บรวบรวมมานี้ถือว่าเป็นฐานข้อมูลระดับชุมชนซึ่งจะมีประโยชน์ และสามารถนำมาใช้ได้ตลอด รวมถึงได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาที่พบในปัจจุบันนั้น ต้องคำนึงและปรับให้เหมาะสมกับระบบนิเวศที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น อีกทั้งต้องคิดเสมอว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คาดการณ์ได้ยากมาก อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ใหม่ ช่วงเวลาใหม่ รูปแบบใหม่ ซึ่งการแก้ปัญหารูปแบบเดิมๆ อาจไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้อีกต่อไปซ้ำยังก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมาอีกด้วย

Image

4 เมษายน 2565 โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ประจำเดือนเมษายน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา มูลนิธิชุมชนสงขลา และแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง ใกล้โค้งสุดท้ายเข้ามาทุกทีสำหรับการประเมินความเปราะบางฯ นอกจากในครั้งนี้จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และแผนการดำเนินงานของแต่ละทีมแล้ว ทางโครงการยังได้ฝากโจทย์สำคัญให้แต่ละทีมวิเคราะห์เชื่อมโยงในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ รวมถึงมองแนวทาง มาตรการ และแนวคิดที่จะมาช่วยแก้ปัญหาและลดความเปราะบาง โดยให้มีความสอดคล้องกับแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan :NAP) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals :SDGs) เป้าหมายที่ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการมองแนวทางการต่อยอดและขยายผลจากระดับพื้นที่ไปสู่ระดับท้องถิ่น และไปสู่ระดับชาติต่อไป

Image

7 มีนาคม 2565 - โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา มูลนิธิชุมชนสงขลา และแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง โดยครั้งนี้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากการดำเนินงาน ร่วมวางแผนและปรับขยายระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับข้อจำกัดด้านการเดินทางและการจัดประชุม ภายใต้สถานการณ์โควิด – 19 ระลอกใหม่ การดำเนินงานที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของภาคประชาสังคมที่มีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการบริหารจัดการ ทักษะด้านการแก้ปัญหา พร้อมทั้งเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่ช่วยให้การทำงานสะดวกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาการดำเนินงานได้มีการสร้างเครือข่ายเสริมหนุนการแก้ปัญหาของเมืองควบคู่กันไปด้วย

Image

8 กุมภาพันธ์ 2565 โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา มูลนิธิชุมชนสงขลา และแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง โดยได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยน ความก้าวหน้าของการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งร่วมหารือแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลของแต่ละทีม พร้อมกันนี้ทางทีมได้นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอากาศเบื้องต้น เพื่อให้เห็นแนวโน้มของเปลี่ยนแปลงของฝนในช่วง 30ปีย้อนหลัง และได้นำเสนอ แบบฟอร์มรายงานฉบับสมบูรณ์ของการประเมินความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นแนวทางให้แต่ละทีมใช้เป็นกรอบในการตอบโจทย์การศึกษาที่ชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

Image

5 มกราคม 2565 - โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ประจำเดือนมกราคม ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา มูลนิธิชุมชนสงขลา และแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง ได้ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าและร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทำแบบสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงได้เน้นย้ำกรอบการประเมินความเปราะบางเพื่อให้แต่ละทีมได้ปรับแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์อย่างแท้จริง

Image

7 ธันวาคม 2564 - โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ประจำเดือนพฤศจิกายน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา มูลนิธิชุมชนสงขลา และแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนหารือ ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมถึงหารือการออกแบบแบบสอบถามให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องและเสร็จสิ้นตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดและได้ผลตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Image

5 พฤศจิกายน 2564 - โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ประจำเดือนพฤศจิกายน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา มูลนิธิชุมชนสงขลา และแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนหารือ ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะการใช้เครื่องมือและแนวทางการออกแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ครอบคลุม และสอดคล้องกับประเด็นปัญหาของแต่ละพื้นที่ ในการนำมาประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองต่อไป

Image

6 ตุลาคม 2564 โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนโครงการผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมด้วยมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) และศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความก้าวหน้าและบทเรียนที่ได้จากการดำเนินงาน รวมถึงหารือ ปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการศึกษาความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ดำเนินงานโดยทีมในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งวางแผนการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของโครงการ พร้อมนำเสนอภาพรวมของแผนการดำเนินงานปีที่ 3 เพื่อร่วมวางแผนกิจกรรมในทั้ง 2 พื้นที่ต่อไป

Image

5 ตุลาคม 2564 โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ประจำเดือนตุลาคม ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา และมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง ร่วมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการศึกษาประเมินความเปราะบางในพื้นที่ของทั้ง 6 ทีม รวมถึงหารือเพื่อปรับแนวทางในการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องกับกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน

Image

6 กันยายน 2564 โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำทีมโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา และมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง เพื่อหารือ สะท้อน และแลกเปลี่ยนการดำเนินการของแต่ละทีม รวมถึงปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินงานเพื่อหาแนวทางเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อไป

Image

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยนำโดยดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับ CSNM จัดประชุมร่วมกับคณะทำงานแกนหลักของทีม CSOs ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป โดยแยกจัดประชุมกับแต่ละทีม จำนวน 6 ทีม ได้แก่ ทีมเมืองขอนแก่น (24 ส.ค.64-ช่วงเช้า), ทีมบ้านไผ่ ขอนแก่น (24 ส.ค. 64-ช่วงบ่าย), ทีมสระใคร (31 ส.ค. 64 – ช่วงเช้า), ทีมเมืองหนองคาย (31 ส.ค. 64 – ช่วงบ่าย), ทีมสามพร้าว (2 ก.ย. 64 – ช่วงเช้า) และ ทีมหนองสำโรง อุดรธานี (6 ก.ย. 64 – ช่วงบ่าย) โดยได้ร่วมทบทวนทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้อเสนอโครงการ การวางแผนปรับรูปแบบการทำงานและการจัดประชุม รวมถึงการปรับบทบาทของทีมงานให้สอดคล้องและสามารถขับเคลื่อนการทำงานได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

Image

16 สิงหาคม 2564 โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) ทีมงาน TEI นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา และศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ร่วมกับทีมวิชาการ TF: Technical Facilitator ทั้ง 6 ท่าน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองของการประเมินความเปราะบางของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และหารือเกี่ยวกับเนื้อหา (ร่าง) คู่มือการประเมินความเปราะบางของเมืองสำหรับภาคประชาสังคม ให้มีความสอดคล้องและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

Image

5 สิงหาคม 2564 - โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ทีมงาน TEI และมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง เพื่อหารือ สะท้อน และแลกเปลี่ยนการดำเนินการของแต่ละทีม รวมถึงทำความเข้าใจแนวทางและรูปแบบการประเมินความเปราะบาง ขั้นตอนการทำ TOR เพื่อให้แต่ละทีมเข้าใจกระบวนการต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินงานได้

Image

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดยดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับ SCF จัดประชุมร่วมกับคณะทำงานแกนหลักของทีม CSOs ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป โดยแยกจัดประชุมกับแต่ละทีม จำนวน 6 ทีม ได้แก่ ทีมบ่อยาง (16 ก.ค.64), ทีมโตนดด้วน พัทลุง (21 ก.ค.64), ทีมพะตง สงขลา (22 ก.ค. 64 – ช่วงเช้า), ทีมเมืองปาดังเบซาร์ สงขลา (22 ก.ค. 64 – ช่วงบ่าย), ทีมเมืองละงู (27 ก.ค. 64 – ช่วงเช้า) และ ทีมควนลัง สงขลา (27 ก.ค. 64 – ช่วงบ่าย) โดยได้ร่วมทบทวนทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้อเสนอโครงการ การวางแผนปรับรูปแบบการทำงานและการจัดประชุม รวมถึงการปรับบทบาทของทีมงานให้สอดคล้องและสามารถขับเคลื่อนการทำงานได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยจะชี้แจงรายละเอียดของการบริหารจัดการงบประมาณการดำเนินงานให้สอดคล้องกับระเบียบของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสหภาพยุโรปในครั้งต่อไป

Image

21 กรกฎาคม 2564 ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) และกลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WeSD) ได้จัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมการประเมินความเปราะบางของเมืองแบบมีส่วนร่วม ภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดย สหภาพยุโรป (EU) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) มีภาคีเครือข่ายทั้งภาคประสังคม ภาครัฐ และภาควิชาการ ทั้งหมด 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย โดยมีภาคประชาสังคมที่เข้าร่วม ประกอบด้วย ศูนย์ประสานงานกลุ่มเพื่อนฅนไร้บ้านจังหวัดขอนแก่น, กลุ่มสหกรณ์เคหสถาน 4 ชุมชนเมืองไผ่, ศูนย์ข้อมูลเพื่อสันติภาพและสิทธิมนุษยชนอีสาน, กลุ่มอนุรักษ์ป่าโคกสำเหร่ไชยา, ศูนย์ส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำโขง และสหกรณ์มิตรภาพมั่นคงหนองคาย ภาควิชาการ ประกอบด้วย มหางิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยชีวิตเมืองหนองคาย มหาวิทยาลัยนครพนม และผู้อำนวยการสถาบันชุมชนอีสาน เข้าร่วมเตรียมความพร้อมในการประเมินความเปราะบางของเมืองแบบมีส่วนร่วมในครั้งนี้

Image

5 กรกฎาคม 2564 โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยนำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา และมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง ได้ร่วมกันหารือขั้นตอนและแนวทางในการดำเนินกิจกรรมตามข้อเสนอโครงการศึกษาการประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทั้ง 6 เมือง ได้แก่ เมืองพะตง เมืองบ่อยาง เมืองปาดังเบซาร์ เมืองควนลัง จ.สงขลา เมืองละงู จ.สตูล และเมืองโตนดด้วน จ.พัทลุง รวมทั้งหารือประเด็นปัญหาในการดำเนินงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมทั้งแนวทางในการสนับสนุนการดำเนินงานของแต่ละทีม

Image

20 เมษายน 2564 โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา และมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับแกนนำภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง เพื่อนำเสนอและร่วมหารือรายละเอียดของร่างข้อเสนอการวิเคราะห์ความเปราะบางของชุมชนเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทั้ง 6 เมือง ได้แก่ เมืองพะตง เมืองบ่อยาง เมืองปาดังเบซาร์ เมืองควนลัง เมืองละงู และเมืองโตนดด้วน

Image

12 มกราคม 2564 โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมคณะทำงานโครงการร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 1 ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ทีมงาน TEI มูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) และ ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (CSNM) ร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ ได้แก่ ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์, ศ.สุริชัย หวันแก้ว และผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของโครงการในอีก 4 ปีข้างหน้า เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปสู่การปรับเปลี่ยนด้านนโยบายจากการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง

Image

25 พฤศจิกายน 2563 โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จัดประชุมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานปีที่ 1 ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับ ศูนย์ประชาสังคมและองค์กรสาธารณประโยชน์ (CSNM) และมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและสะท้อนผลการเรียนรู้จากการดำเนินงานปีที่ 1 และร่วมวางแผนงานในปีที่ 2 รวมทั้งการเตรียมการจัดประชุมร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติเพื่อขอคำชี้แนะและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการและแผนงานที่จะดำเนินงานต่อไป

Image

28 - 29 ตุลาคม 2563 - โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป นำโดยทีมงานจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ม.ขอนแก่น จัดกิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกอบรม (กิจกรรมที่ 1.1) โดยมีภาคประชาสังคมจาก 3 พื้นที่เข้าร่วม ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย มุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ใหม่และทำความเข้าใจเรื่องการพัฒนาเมือง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเชื่อมโยงของการกลายเป็นเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปราะบางของชุมชน ณ โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จ.ขอนแก่น

Image

22 - 24 ตุลาคม 2563 - โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปนำโดยทีมงานจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และมูลนิธิชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมที่ 1.2 การเรียนรู้และฝึกอบรม เพื่อแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ ตัวชี้วัดรวมถึงการประยุกต์ใช้ ในการประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองโดยมีภาคประชาสังคมจาก 3 พื้นที่เข้าร่วม ได้แก่ สงขลา พัทลุง และสตูล ณ วังวาดี รีสอร์ท อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

Image

25 กันยายน 2563 - โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ร่วมกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ นำโดย รศ. ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง จัดเวทีสัมมนาข่วงเมือง ครั้งที่ 3 "ปัญหาและความท้าทายของเมืองภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ของพื้นที่และค้นหาเครือข่ายภาคประชาสังคมเข้าร่วมโครงการ ณ ห้องประชุมลีลาวดี โรงแรมพันล้าน อ.เมือง จ.หนองคาย

Image

4-6 กันยายน 2563 - โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปนำโดยทีมงานจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และมูลนิธิชุมชนสงขลา จัดกิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกอบรมกิจกรรมที่ 1.1 โดยมีภาคประชาสังคมจาก 3 พื้นที่เข้าร่วม ได้แก่ สงขลา พัทลุง และสตูล มุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับภาคประชาสังคมเพื่อทำความเข้าใจ การพัฒนาเมือง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเชื่อมโยงของการกลายเป็นเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปราะบางของชุมชน รวมถึงทำความเข้าใจบทบาทและความแตกต่างระหว่างเพศต่อการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ณ โรงแรมบูมฟอร์เรส อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

Image

7 สิงหาคม 2563 - ทีมงานโครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ รศ. ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ร่วมกับทีมงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี จัดเวทีสัมมนาข่วงเมือง ครั้งที่ 2 "ปัญหาและความท้าทายของเมืองภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี

Image

5 สิงหาคม 2563 - โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) จัดประชุมเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคใต้) ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา และมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับแกนนำภาคประชาสังคมสงขลา สตูล พัทลุง เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนงาน และรูปแบบการจัดหลักสูตรการเรียนรู้และฝึกอบรม เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของภาคประชาสังคมในพื้นที่

Image

10 มีนาคม 2563 - ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ร่วมกับ ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการโครงการ นำทีมงานเข้าร่วมประชุม "แนวทางการดำเนินงานของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย" ณ โรงแรมคอนราด กทม. เพื่อให้ทุกโครงการที่ได้รับทุนเข้าใจในกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ภายในงานได้เชิญ H.E. Mr. Pirkka Tapiola เอกอัครราชทูต สหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวเปิดงาน และ H.E. Mrs. Satu Suikkari-Kleven เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ ประจำประเทศไทย กล่าวเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ รวมถึงรับฟังแนวทางการปฏิบัติด้านการเงินและสัญญา แนวทางการดำเนินกิจกรรมและการสื่อสาร และบทบาทภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDG เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินโครงการต่อไป

Image

4 มีนาคม 2563 - ทางมูลนิธิชุมชนสงขลา ได้พาทีมงานจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ Maastricht University ภายใต้โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการโครงการ ไปเยี่ยมชม "สวนผักคนเมือง" ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง เพิ่มความมั่นคงทางอาหารของคนเมือง และสร้างรายได้ ที่สวนลุงนุ้ยป้าสาว เพื่อชมรูปแบบการปลูกพืชแบบคนเมือง การจัดการขยะมาทำปุ๋ย การเลี้ยงไส้เดือนทำปุ๋ย การปลูกผักผสมผสานหลากชนิด และได้รวมกลุ่มกันในนามเครือข่ายเกษตรสุขภาพตำบลควนลัง และเดินทางต่อไปยังสวนเบญจพฤกษ์ เพื่อชมรูปแบบการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ในการปลูกผัก เนื่องจากลักษณะของดินในพื้นที่เมืองไม่เอื้อในการเพาะปลูก ปัจจุบันถูกประกาศให้เป็นจุดท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของอำเภอหาดใหญ่ ปัจจุบันสวนผักคนเมืองเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา เข้าสู่การพัฒนาระบบมาตรฐาน PGS ในนาม SGS-PGS ส่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์ไปจำหน่ายยังตลาดหาดใหญ่กรีนสมาย รพ.หาดใหญ่ และตลาดฟิน

Image

2-3 มีนาคม 2563 - ทีมงานโครงการ SUCCESS จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้อำนวยการโครงการ ร่วมด้วยกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประชุมร่วมกับหน่วยงานร่วมหลักของไทย ได้แก่ ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ และมูลนิธิชุมชนสงขลาเพื่อแนะนำและทำความรู้จักกับหน่วยงานร่วมหลักจาก Maastricht University พร้อมทั้งร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้และสร้างศักยภาพภาคประชาสังคมในสองภูมิภาค

1 2