ACCCRN

เครือข่ายเมืองในเอเชีย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Asian Cities Climate Change Resilience Networks

Story ACCCRN Story

ACCCRN

...เพื่อให้เมืองที่ร่วมโครงการมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมีการเตรียมการ และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนโดยประสานงานกันเป็นเครือข่ายที่มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักและความร่วมมือระหว่างภาคีต่างๆ ระดับท้องถิ่นในการพัฒนายุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมการรับมือและจัดการกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเมืองและประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสที่ถือเป็นกลุ่มสำคัญที่ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นลำดับต้นๆ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงมีแนวทางในการดำเนินโครงการ คือ การวางรูปแบบและแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมกับเมือง การขยายผลการดำเนินงานไปยังเมืองต่างๆ ที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันโดยการรวบรวมกระบวนการทำงานต่างๆ และสรุปบทเรียนที่เกิดขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพแก่เมืองในการพัฒนายุทธศาสตร์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมกับเมือง การสนับสนุนให้เมืองแปลงแผนยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นสู่การปฏิบัติ

Image
Our Our ACCCRN

ACCCRN

...การดำเนินโครงการจะเป็นการช่วยเสริมสร้างเครือข่ายเมืองในเอเชีย ซึ่งจะร่วมดำเนินงานเพื่อหากรอบแนวทางในการดำเนินงานที่มีความเหมาะสม และสามารถขยายผลสู่เมืองต่างๆ ได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เมืองมีความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างศักยภาพเมืองในการเตรียมความพร้อมต่อการรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งการวางนโยบาย การจัดทำแผน และแนวทางการปฏิบัติ ที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาเมือง ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการบริการ การป้องกันและจัดการภัยพิบัติ และการเตรียมความพร้อมในด้านอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ศักยภาพ และความต้องการของเมืองนั้น อย่างไรก็ตามก็สามารถที่จะขยายผลหรือนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับเมืองอื่น ๆ ได้เช่นกัน

Image

ความท้าทาย

อนาคตของเมือง….

ปัจจุบัน ประชากรของโลกกว่าร้อยละ 50 อาศัยอยู่ในเมือง และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยได้มีการคาดการณ์กันว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 70 หรือประมาณ 6.4 พันล้านคน ภายในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งกว่าร้อยละ 60 ของประชากรเมืองเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ของเอเชีย โดย UN-Habitat ได้ประมาณการว่า ประชากรเมืองเหล่านี้กว่า 1 พันล้านคน(หรือประมาณ 1 ใน 3) ต้องอาศัยอยู่ในสภาพที่แออัด ไม่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานได้ โดยเฉพาะน้ำ และสุขาภิบาล หรืออาศัยอยู่ในแหล่งพักพิงที่ไม่มั่นคง และคาดว่ากลุ่มประชากร หรือ “ชุมชนแออัด” เหล่านี้ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว (ประมาณ 2 พันล้านคน) ในปี พ.ศ. 2593

เมืองต้องประสบปัญหากับเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้….

คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก (IPCC) ได้คาดการณ์ว่าภาวะโลกร้อน ซึ่งเกิดจากการปลดปล่อย “ก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ” จากกิจกรรมของมนุษย์ที่ผ่านมาในอดีต ได้ส่งผลกระทบขึ้นแล้วในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งโลก ทั้งปรากฏการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลการเกิดภัยธรรมชาติที่บ่อยครั้งขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้น การกัดเซาะชายฝั่ง การลดลงของพืชพันธุ์และสัตว์ต่างๆ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย รวมทั้งการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการที่อากาศอบอุ่นขึ้น เช่น โรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก

กลุ่มที่มีความเสี่ยงและเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ…

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มักจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อกลุ่มคน หรือชุมชนที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่น้อย ซึ่งโดยทั่วไปคือกลุ่มคนยากจน ที่จะไม่มีการเตรียมตัวหรือเตรียมการเพื่อรับมือกับผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น กลุ่มคนเหล่านี้จึงไม่มีความพร้อมหรือศักยภาพในการรับมือหรือตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสมด้วยเหตุผลดังกล่าว มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองด้วยเล็งเห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงเพื่อเตรียมการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบดังกล่าว

วัตถุประสงค์โครงการ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อให้เมืองที่ร่วมโครงการมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมีการเตรียมการ และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนโดยประสานงานกันเป็นเครือข่ายที่มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักและความร่วมมือระหว่างภาคีต่างๆ ระดับท้องถิ่นในการพัฒนายุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมการรับมือและจัดการกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเมืองและประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสที่ถือเป็นกลุ่มสำคัญที่ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นลำดับต้นๆ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงมีแนวทางในการดำเนินโครงการ คือ

การวางรูปแบบและแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมกับเมือง การขยายผลการดำเนินงานไปยังเมืองต่างๆ ที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันโดยการรวบรวมกระบวนการทำงานต่างๆ และสรุปบทเรียนที่เกิดขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพแก่เมืองในการพัฒนายุทธศาสตร์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมกับเมือง การสนับสนุนให้เมืองแปลงแผนยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นสู่การปฏิบัติ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การดำเนินโครงการดังกล่าว จะเป็นการช่วยเสริมสร้างเครือข่ายเมืองในเอเชีย ซึ่งจะร่วมดำเนินงานเพื่อหากรอบแนวทางในการดำเนินงานที่มีความเหมาะสม และสามารถขยายผลสู่เมืองต่างๆ ได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เมืองมีความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างศักยภาพเมืองในการเตรียมความพร้อมต่อการรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งการวางนโยบาย การจัดทำแผน และแนวทางการปฏิบัติ ที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาเมือง ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการบริการ การป้องกันและจัดการภัยพิบัติ และการเตรียมความพร้อมในด้านอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ศักยภาพ และความต้องการของเมืองนั้น อย่างไรก็ตามก็สามารถที่จะขยายผลหรือนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับเมืองอื่นๆ ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งหวังที่จะสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเมืองด้วย โดยการดำเนินงานต่างๆ จะเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับท้องถิ่น และประเทศ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม สถาบันการศึกษาและวิชาการ โดยคาดว่าจะเกิดผลดังนี้

  1. การเสริมสร้างศักยภาพ : เมืองที่ร่วมโครงการจะได้รับการพัฒนาศักยภาพในการวางแผนและการปฏิบัติตามแผน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม : ในการดำเนินโครงการ จะมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม สถาบันที่สนับสนุน ทางด้านวิชาการ และสถาบันที่สนับสนุนเงินทุน ในการช่วยกันกำหนดประเด็นและแนวทางการแก้ไขผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  3. การขยายผลโครงการ : มีการขยายผลการดำเนินโครงการไปยังเมืองอื่นๆ รวมทั้งการมีสถาบันสนับสนุนทางด้านวิชาการและการเงินเข้ามาสนับสนุน การจัดทำแผนและแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติด้วยเช่นกัน

การดำเนินโครงการ

โครงการนี้ได้ดำเนินงานใน 4 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย โดยจะมีระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งสิ้น 5 ปี คาดว่าจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2555 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 (เมษายน 2551 – กันยายน 2552) : การคัดเลือกเมืองนำร่อง (ดำเนินการเสร็จแล้ว)

โครงการนี้ได้ดำเนินงานใน 4 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย เพื่อคัดเลือกเมืองนำร่องที่จะเข้าร่วมโครงการในระยะต่อไป โดยมีเมืองที่ร่วมโครงการทั้งสิ้น 10 เมือง โดยพิจารณาจากปัจจัยหลัก คือ

ความเสี่ยงหรือความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอัตราการเจริญเติบโตของเมือง ความเข้าใจของเมืองต่อความเสี่ยงหรือความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความพร้อมและการสนับสนุนของเมืองในการเข้าร่วมโครงการ การดำเนินโครงการในระยะนี้ จะมีการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการศึกษาข้อมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของเมืองที่เข้าร่วมโครงการใน 4 ประเทศดังกล่าวข้างต้น

เมืองที่ร่วมโครงการทั้ง 10 เมือง ใน 4 ประเทศ ได้แก่

Screen-Shot-2558-01-27-at-5.31.57-PM

ระยะที่ 2 (มกราคม 2552 – กลางปี 2553) : การเสริมสร้างศักยภาพเมืองด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเมือง

ในระยะนี้จะเป็นการศึกษาและประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Shared Learning Dialogue – SLD) ระหว่างภาคีเมืองที่สำคัญ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาสังคม เพื่อนำมาพัฒนาเป็นยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนการดำเนินการ และข้อเสนอโครงการ (Project proposals) ที่เหมาะสมกับสภาพของเมืองและภาวะความเสี่ยง เพื่อเตรียมการรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้

  1. การพัฒนาศักยภาพและความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านอากาศ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเมือง
  2. การพัฒนายุทธศาสตร์ มาตรการ แผนการดำเนินการ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเมือง

ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2553 – 2555) การดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ฯ

มาตรการหรือแนวทางซึ่งได้พัฒนาขึ้นในระยะที่ 2 ที่มีความเหมาะสมกับศักยภาพของเมือง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นซึ่งได้มีการศึกษาและพัฒนาไว้ในระยะที่ 1 และ 2 ที่สามารถดำเนินการได้ จะถูกนำมาแปลงสู่การปฏิบัติ เพื่อช่วยบรรเทาหรือลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ระยะที่ 4 (ตั้งแต่กลางปี 2551 เป็นต้นไป) : การขยายผลโครงการ

เป็นการขยายสร้างความเข้มแข็งระหว่างเครือข่ายเมืองที่ร่วมโครงการ และเมืองอื่นๆ รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การขยายผลโครงการ โดยมีการดำเนินงานหลัก ๆ ดังนี้

การติดตามและประเมินผลการดำเนินโรงการ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและบทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ การขยายผลด้านการเสริมสร้างศักยภาพและความพร้อมแก่เมืองต่างๆ การขยายผลบทเรียนและประสบการณ์ รวมทั้งกรอบแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์และการดำเนินงานต่างๆ การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรม หรือโครงการต่าง ๆ

 

The Challenge

Cities of the future…

          50% of the global population currently live in cities and this is expected to increase to 70% (or 6.4 billion people) by 2050. Asian cities are expected to see more than 60% of this increase and 46% of all urban population growth will occur in cities with fewer than 500,000 inhabitants. UN-Habitat estimate that over 1 billion (or one in three) urban inhabitants currently do not have adequate access to water and sanitation, live in overcrowded conditions, live in poor quality, temporary shelters or lack security of tenure. It is predicted that the number of “slum dwellers” could double, to 2 billion, by 2050.

…face unprecedented challenges…

          The IPCC predict decades of global warming as our past emissions continue to heat up the earth’s atmosphere. Potential climate change impacts include: rising sea levels, more frequent, stronger storms, coastal erosion, diminishing biodiversity, continuing loss of glaciers and arctic ice, salinity in freshwater aquifers and an increase in heat-related diseases like malaria and dengue fever.

…particularly for the most vulnerable.

          Climate change will have the greatest impact on communities who have done the least to cause it. Poor and vulnerable populations have the least capacity to prepare and plan for the impacts of climate change and the least capacity to respond.
The Asian Cities Climate Change Resilience Network aims to catalyze attention, funding, and action on building climate change resilience for poor and vulnerable people by creating robust models and methodologies for assessing and addressing risk through active engagement and analysis of various cities.

Objective

          Through the actions of the Asian Cities Climate Change Resilience Network, it is anticipated that by 2012, a network of cities in Asia will have developed robust plans to prepare for, withstand and recover from the predicted impacts of climate change.
To accomplish this, ACCCRN must meet the following objectives:
  • Test and demonstrate a range of actions to build climate change resilience in cities
  • Build a replicable base of lessons learned, successes and failures
  • Assist cities in the development and implementation of a climate change resilience building process
  • Help cities continue activities that build climate change resilience

Anticipated Outcomes

          The Rockefeller Foundation’s initiative will develop a network of Asian city partners who will experiment with a range of activities that will collectively improve the ability of the cities to withstand, prepare for, and recover from the projected impacts of climate change. It is expected that interventions will span health, infrastructure, water, disaster, urban planning/development issues, and will include leveraging policy incentives and investment funds to improve infrastructure, services, disaster management and preparedness strategies.
          The approaches taken will be determined by local needs and priorities, but will be replicable in different urban contexts and will bring particular focus to improving the resilience of poor and vulnerable populations to climate change impacts. Activities will involve the development of secondary partnerships and activities with a spectrum of actors, including local, state, and national governments, the private sector, community based organizations, and universities and research institutions. Anticipated results of the ACCCRN program include:
  • Capacity building
    Selected cities in South and South East Asia have adequate capacity to plan, finance, coordinate, and implement climate change resilience strategies.
  • Network for learning and engagement
    A broad range of representatives of cities, civil society, donors, private sector, technical partners engage with ACCCRN to mutually identify and solve key climate change resilience problems.
  • Expansion, deepening of experience, scaling up
    New and more diverse partners provide resources and funding for replication in current and new cities to support the implementation of resilience plans and strategies.

 Program

          ACCCRN is being implemented in four inter-connected phases. It is expected that the work of ACCCRN will continue to expand and scale up beyond 2012.
Phase 1 (April 2008 to September 2009): City Scoping and Selection (Completed)
          A broad review of a number of Asian cities in India, Indonesia, Thailand and Vietnam to identify a select number of partner cities in which ACCCRN will pursue deeper engagement.
Ten cities were identified to pursue deeper engagement based on:
  • Vulnerability to climate change impacts and rate of urbanization
  • Understanding of local actors on potential climate change impacts, and
  • Readiness to engage with ACCCRN and ability to participate in the ACCCRN process
This phases involved assessment of climate change impact profile and mapping of physical, social, political and economic contexts of cities in India, Indonesia, Vietnam, and Thailand
The selected cities in 4 countries are
Selected cities in India:
           Surat (Gujarat)
           Indore (Madhya Pradesh)
           Gorakphur (Uttar Pradesh)
Selected cities in Viet Nam:
           Da Nang
           Quy Nhon
           Can Tho
Selected Cities in Thailand:
           Chiang Rai
           Hat Yai
Selected Cities in Indonesia:
           Bandar Lampung
           Semerang
Phase 2 (January 2009 – mid 2010): City-level engagement and capacity development 
          Shared learning dialogues (SLDs) with key stakeholders (city-level government, civil society organizations, research institutes and private sectors are key to the city engagement process. They promote participatory iterative planning and serve to
  • Enhance capacities to use climate information,
  • Increase understanding of city-level vulnerabilities to climate change impacts,
  • Develop appropriate urban climate change resilience strategies, action plans, and interventions that address climate change vulnerability
          This phase also includes: detailed Sector Studies, expanding on issues arising in vulnerability assessments, and a number of small-scale pilot projects to strengthening city stakeholder engagement at an early stage
Phase 3 (2010 – 2012): Implementation of effective urban resilience building projects
          Urban Resilience Interventions are selected on the basis of their ability to demonstrably improve the resilience of ACCCRN cities to current and future climate risks. Their development and implementation is informed by the understanding of urban system, climate risks, and vulnerability developed in phase 1 and 2
ACCCRN cities will work with local and international partners to implement replicable interventions identified in the climate change resilience action plan. In part these will be funded by the Rockefeller Foundation in the cities belonging to the ACCCRN network.
Phase 4 (Mid 2008 onwards): Replication
          The ACCCRN program will scale up through networking between cities, countries and sectors to broaden stakeholder base, as well as leveraging a much larger volume of financing for credible and evidence-based resilience building initiatives. This will be addressed through;
  • Continuous monitoring and evaluation to assess emerging results and capture lesson learned,
  • Promoting the development of capacity for replication
  • Disseminating learning and urban resilience frameworks and,
  • Leveraging additional funding sources for resilience building initiatives through the region

 

ACCCRN

เครือข่ายเมืองในเอเชีย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Asian Cities Climate Change Resilience Networks

Get In Touch